พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จสู่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ทิพวรรณ พานเข็ม
ปกรณ์ชัย สุพัฒน์
นิตยา แข่งขัน
ทิพย์สุดา กุมผัน
ณัฐกร โต๊ะสิงห์
โชติรส นพพลกรัง
มนัญญา นาคสิงห์ทอง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการพัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษและ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบขนาดและทิศทางของอิทธิพลปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จสู่การพัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการตามข้อกำหนดทั้งหมดเท่ากับ 360 คน (36 x 10 = 360) เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างสมบูรณ์และครบถ้วนตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผู้ศึกษาจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 390 คน


        ผลการวิจัย พบว่า


          1.การดำเนินงานการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนทั้งระบบของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนนำร่อง 2รุ่น จำนวน 115 โรงเรียน ที่จัดการเรียนการสอนตามนวัตกรรม จำนวน 8 นวัตกรรมการเรียนรู้


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยที่ 4.48 รองลงมาเป็นปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีมมีค่าเฉลี่ย 4.32 ส่วนปัจจัยด้านวัสดุสิ่งของและการเงินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 1.87 ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรต่อความสำเร็จการขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัดศรีสะเกษพบว่า Chi-Square=30.29, df=164, P-value=1.00000, RMSEA=0.000ค่าความสอดคล้องของแบบจำลอง คือ ค่า chi-square มีค่าเท่ากับ 30.29 ค่าความในอิสระ (Degree of freedom) ที่ระดับ 164 ค่า RMESA เท่ากับ 0.000 และค่าP-value=1.00000นั่นคือ ระดับนัยสำคัญของการทดสอบค่า ไค-สแควร์ มากกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนด (0.05)

  2. การวิเคราะห์และเปรียบเทียบขนาดและทิศทางของอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งอิทธิพลตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพเรียงจากมากไปหาน้อย มีดังนี้ คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การทำงานเป็นทีมและวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานด้วยขนาดอิทธิพล 0.52 0.44 และ 0.20

Article Details

บท
Research Articles

References

ชัยรัตน์ ต.เจริญ และคณะ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

ของวิทยาลัยเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอน

ของครูในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสาร

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(1), 220-236.

วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวน

ชายแดน ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 33. วารสารพิฆเนศวร์

สาร. 13 (1), 97-115.

สมประสงค์ ยมนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพ

ภายในสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ชาติที่สิบสอง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2560-2564) สืบค้นจาก

http://www.nesdb.go.th

อภิศักดิ์ กสิณธร. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถด้านนวัตกรรมทาง

การศึกษา:การปฏิบัติในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.

วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน, 22(2), 63-93.

Harvard Business School. (2003). Managing creativity and innovation. Boston:

Harvard Business School Press.