การจัดการเรียนการสอนด้วยการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ จำนวน 60 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 1073403 หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนด้วยการคิดเชิงออกแบบ และ 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าประเด็นที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดคือ สามารถประเมินผลการนำนิทานไปทดลองใช้ และนำมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาได้แก่ เปิดกว้างทางด้านความคิดเพื่อสร้างนิทาน และสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาต่อยอดในการสร้างสรรค์นิทานได้ ตามลำดับ และ 2) นักศึกษามีความสามารถในการทำงานร่วมกันในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าประเด็นที่มีระดับการทำงานร่วมกันมากที่สุดคือ การยอมรับความแตกต่างของความคิด รองลงมาได้แก่ การให้เกียรติและรับฟังเพื่อนทุกคนอย่างตั้งใจ และเมื่อได้รับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนิทาน ยินดีรับฟังและนำไปปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542
และ แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สํานักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ.
ฐานิตตา นัทที. (2564). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาด้วยกระบวนการ
คิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน เรื่องวัสดุและ
การใช้ประโยชน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2537). ความคิดสรางสรรค์ที่พัฒนาได้.
กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ
พิชชานันนท์ ปานพรม. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิง
ออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียน
อาชีวศึกษา เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัสสร ติดมา. (2558). การพัฒนาความคิดสรางสรรค เรื่องระบบรางกายมนุษยดวย
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปที่ 2. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2560). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยการ
แผนที่ความคิด. วารสารบัณฑิตศึกษา. 14(64), 43-50.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. (กรุงเทพมหานคร มูลนิธิ
สยามกัมมาจล, 2556), 14-15. นิตยสารพัฒนาความรู้และความคิด
สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ.
อภิรดี ไชยกาล. (2559). การศึกษาศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการใน
การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภาของนักศึกษา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
Choueiri, L.S., & Mhanna, S. (2013). The design process as a life skill. Procedia-
Social and Behavioral Sciences, 93, 925-929.
Kleinsmann, M., Valkenburg, R., & Sluijs, J. (2017). Capturing the value of design
thinking in different innovation practices. International Journal of esign,11(2),
-40.
The knowledge. (2561). [ออนไลน์] แหล่งที่มา: www.okmd.or.th/knowledge/okmd-
magazine. 2(11).
Vygotsky, L.S. (1978). Mind in society: The developmental of higher psychological
process. Cambridge MA: Harvard University Press.