การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นิธิพงษ์ โยธชัย
พชร อุตมะพันธุ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการฟังระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านห้วยบงเหนือ ตำบลห้วยบงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้มาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) แผนจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ทดสอบค่าที


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 78.25/76.50 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีความสามารถทางการฟังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ (2550). รายงานการศึกษา ปีการศึกษา 2550. 2497-2499 กรุงเทพฯ ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ, (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชไมพร ชาญวิจิตร และดนิตา ดวงวิไล. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง English in Daily Life ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ที่มีผลต่อความสามารถด้านการฟัง การพูด และความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 24 ฉบับที่ 1: กรกฎาคม 2561 หน้า 111-124

พัชชา กรีรัมย์. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ Task-Based Learning ร่วมกับ 2W3P สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2565 หน้า 11-21.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ยุดา รักไทย. (2542). คนฉลาดฟัง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัทเอ็กซ์เปอร์เน็ท จำกัด.

วราพรรณ จิตรัมย์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยการเรียนรู้เทคนิค CLT. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยเน้นงานปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีวิทยา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2557. หน้า 869-883.

Rankin, P. (1982). “The Importance of Listening Ability”. English Journal 18: 523-630.

Yanus, Noor Azlizna. (1985). Preparing and Using Aids for English Language Teaching. Kuala Lumpur: Oxford University Press.