ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานบุคคล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 322 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากการเปิดตารางสำเร็จรูปของโคเฮน (Cohen, Manion and Morrison, 2011) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากนั้นใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ(Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน (Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กองวิจัยทางการศึกษา. (2542). ความหมายของการสื่อสาร. กรมวิชาการ กระทรวง
ศึกษาธิการ.
ธีรวีร์ แพบัว. (2563). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใน
การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรทิพย์ เพ็งกลัด. (2560). การสื่อสารของผู้บริหารกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู
โรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดกาญจนบุรี, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรทิพย์ เอี่ยมมาลา. (2562). ศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา
ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.
พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี, วารสารบริหารการศึกษามหาบัณฑิต.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี, วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อโนมา ภูเจริญ. (2563). ศึกษาการจัดการการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2, ธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวทิยาลยัรามคำแหง.
อมรา ปานศรีเส้ง. (2565). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหาร
สถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหาร สถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบึงกุ่ม, ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Beach, D. S. (1980). Personnel : The Management of People at Work. New York: Macmillan.
David K. Berlo. (1960). The process of communication , New York : Holt Rinehart and Winston, Inc.
Flippo, E. B. (1971). Principle of personnel. New York: McGraw-Hill.