การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ของโรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

จินตนา ถาคำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก(active learning) 2) พัฒนา และประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) และ 3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก(active learning) การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุกจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาฯ มีกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์


ยกระดับการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก 2) กลยุทธ์ขับเคลื่อนการกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก 3) กลยุทธ์พัฒนาขีดความสามารถด้านการวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) กลยุทธ์พัฒนาระบบการให้รางวัลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก 3. การตรวจสอบและประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก 4.การนำกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาฯ ไปใช้ พบว่า 1) ประสิทธิผลกระบวนการบริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความพึงพอใจของครูและบุคลากรที่มีต่อกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในภาพรวมทั้งโรงเรียนโดยส่วนใหญ่ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80

Article Details

บท
Research Articles

References

กิตติ คุณสมบัติ. (2556). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าตะเกียบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยรัตน์ ราชประโคน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ฐิติรัตน์ เพ็ชรอินทร์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิดาพร เครือวงค์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

เพชรจันทร์ ภูทะวัง. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและ

เอกสารวิชาการ วิทยาลัยครูครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรรเพชญ โทวิชา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏไวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). คู่มือการวางระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับกระทรวง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สิริกานต์ เอื้อธารากุล. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เอมอร ศรีวรชิน. (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิง วิชาชีพเพื่อ

เสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้าน ทักษะชีวิตของผู้เรียน โรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม. นครราชสีมา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.

Moxley, S.E. (2003). “Strategic Planning Process Used in School Districts in the Southeastern 0United States,” Dissertation Abstracts International. 64(02): 359-413.

Wheelen, T. L., and Hunger, D. J. (2012). Strategic management and business policy. (13th ed.). Pearson