การศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

วรพล เหมืองทอง
พนายุทธ เชยบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ และ 2) ศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ โดยศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 คน และยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบยืนยันวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และร้อยละ ระยะที่ 2 ศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ โดยใช้การสัมภาษณ์และการสังเกต


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มี 4 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มี 5 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ มี 6 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์มี 5 ตัวชี้วัด และ 4) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มี 2 ตัวชี้วัด

  2. การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ คือการบริหารแบบมีส่วนร่วมภายใต้รูปแบบ “5ร MODEL” ร่วมกับวงจร PDCA

Article Details

บท
Research Articles

References

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับ

ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จีระภา มีหวายหลึม. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ไชยา หานุภาพ. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของ

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทินกร ชอัมพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกีฬาแบบมีส่วนร่วมของ

มหาวิทยาลัยราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA :

กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นิตยา แก้วแสนชัย. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4: พหุกรณีศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุษบา เคะนะอ่อน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผล

การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สกลนคร เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประภาพร ซื่อสิทธิกุล. (2560). หลักการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ:

ไทยวัฒนาพานิช.

พิมพ์ญาฎา นูพิมพ์. (2560). ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน

เทศบาลมิตรสัมพันธ์วิทยา สังกัดเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

การบริหารสถานศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 9(1), 124 – 132.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศึกษา.

อุดรธานี: อักษรศิลป์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. (2566). คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน.

บึงกาฬ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ

นักเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุภัททา อินทรศักดิ์. (2561). การนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน

ส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เสาวนีย์ เดือนเด่น และคณะ. (2558). การมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

อรรถชัย กาหลง. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการ

นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐขนาดใหญ่ในจังหวัดเพชรบุรี.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Rural development participation:

concept and measure for project design implementation and evaluation: Rural development committee center for international Studies. New York: Cornell University.

Mayer, H., & Höppe, P. (1987). Thermal Comfort of Man in Different Urban

Environments. Theoretical and Applied Climatology, 38, 43-49.

Shadid, W, wil P. and others. (1982). Access and Participation A Theortical

Approach in Participation of the Poor in Development. New York:

McGraw-hill