การพัฒนาการบริหารงานวิชาการในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูสังกัดโรงเรียนเทศบาลเมืองเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารโรงเรียนและครู 118 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการหาดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับมากคือ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู คือค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา มีค่าดัชนี (PNI modified = 0.16) และโครงสร้างสนับสนุนชุมชน มีค่าดัชนี (PNI modified = 0.13) การพัฒนาการบริหารงานวิชาการ และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูมี 48 แนวทางพัฒนา ในการเชื่อมโยงแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการและการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูที่สำคัญคือ การสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนสู่นำไปปฏิบัติกับโครงสร้างสนับสนุนชุมชนการเพิ่มช่องทางการใช้ข้อมูลระบบดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสร้างนวัตกรรม
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). การขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)”สู่สถานศึกษา. สืบค้นจาก https://www.ben.ac.th ›.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน 4 ฝ่าย. สืบค้นจาก www.thaischool.in.th.
กิตติ กสิณธารา.(2561). ปัญหาการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org ›.
นัตยา หล้าทูนธีรกุล. (2563). ครบเครื่องเรื่อง PLC: Professional Learning Community ให้มีนวัตกรรมยุคThailand 4.0. สืบค้นจาก www.thaischool.in.th.
นงลักษณ์ วิรัชชัยและสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th ›.
ประยูร สุธาบูรณ์. (2564, 7 พฤษภาคม). ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุงจ.กาญจนบุรี. [บทสัมภาษณ].
ยูเนสโก.(2564). ผลกระทบโควิด-19 ทำทั่วโลกสูญเสียปีการศึกษา. สืบค้นจาก https://thestandard.co › unesco-unveiled-coronavirus-ed.
รัชนี พันออด. (2563, 25 ตุลาคม). ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล3 (ชุมชนวัดจันทราวาส) [บทสัมภาษณ].
วาลิช ลีทา.(2560). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 97-98.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐา (O-Net ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6 ประจำปี 2562. สืบค้นจาก www.niets.or.th.
อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไทสง. (2560). สภาพปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา วิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), 156-166.
อุมาพร ปานโท้. (2562). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียนและการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,12 (3), 438-453.
Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Hord, S. M. (2010). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Thousand Oaks, Canada: Crow in Press.
Kaufman, R. (1987). A Needs assessment. Training and Development Journal. In AmericanAmerican Society for Training and Development: ASTD. Virginia: ASTD, 1992: 37-41.
Krejcie, R, V., & Morgan, D, W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30: 607-610.