โปรแกรมการพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

Main Article Content

นงนุช วิชาผา
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2. เพื่อสร้างโปรแกรมการพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 17 คน และครูจำนวน 300 คน รวมทั้งสิ้น 317 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบเติมคำและแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไปสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน ประกอบการร่างโปรแกรมการพัฒนา และแบบประเมินโปรแกรมการพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวม พบว่า สภาพปัจจุบันของทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลาง โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล รองลงมา คือ ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ รองลงมาคือ ทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล ตามลำดับ และผลการศึกษาความต้องการจำเป็นทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวม พบว่า เมื่อเรียงลำดับตามดัชนี ความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะความคิดสร้างสรรค์,ทักษะการสื่อสาร, ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์,ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน, ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ตามลำดับ

  2. โปรแกรมการพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ผลการวิจัย โปรแกรมการพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหา ประกอบด้วย 5 Module ได้แก่ Module 1 ทักษะการสื่อสาร Module 2 ทักษะความคิดสร้างสรรค์ Module 3 ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ Module 4 ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และ Module 5 ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21 สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ค.ม.

(สาขาการบริหารจัดการการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารคณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.

ณัฐวัฒน์ เทศบุตร.(2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร

โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.

วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผบู้ริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสาร

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6 (2), 206 - 215.

ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วม

ของครู.วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2555). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไร้พรหมแดน. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม

,จาก http://www.academia.edu/4001681.

ศุภิญญากิจ เกตุวิเศษกูล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของ

ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

ส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสาคาม.

สมหมาย อำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร

บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม