การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และภาวะผู้นำโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM ร่วมกับเทคนิค Team pair solo รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบ้านด่านโขงเจียม

Main Article Content

ขวัญจิรา ดวงแก้ว
อังคณา ตุงคะสมิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และภาวะผู้นำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบ้านด่านโขงเจียม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM ร่วมกับเทคนิค Team pair solo รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยกำหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนสมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และภาวะผู้นำในระดับมากขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบ้านด่านโขงเจียม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM ร่วมกับเทคนิค Team pair solo ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยกำหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 36 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลบ้านด่านโขงเจียม โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินสมรรถนะหลักด้านการทำงานรวมพลังเป็นทีม และภาวะผู้นำท้ายวงจร และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนมีสมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และภาวะผู้นำผ่านเกณฑ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และมีสมรรถนะหลักด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนมีคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 24.69 คิดเป็นร้อยละ 82.31 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
Research Articles

References

กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 Teaching of Social Studies in the 21st Century. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 227-241.

กรรณิการ์ เกศคำขวา. (2565). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM (Social-STEM) ในรายวิชา ส 22107 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการ และวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 257-274.

จันทิมา นิลอุบล, ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง และ ชาริณี ตรีวรัญญู. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมและสมรรถนะการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการเรียนรู้สะเต็มด้วยการสืบเสาะหาความรู้. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 61: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 61. วันที่ 1-3 มีนาคม 2566 ณ กรุงเทพฯ, 13-26.

ทิศนา แขมมณี. (2562). 10 สมรรถนะหลัก ปั้นเด็กไทยฉลาดรู้ อยู่ดีมีสุข มีความสามารถสูงและใส่ ใจสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

พิมพ์พิชชา ศาสตราชัย. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

วัชรี พิกุลทอง (2562). การพัฒนาทักษะการแกปญหาอย่างสร้างสรรคและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดวยการจัดการเรียนรูตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) รายวิชา ส 22102 สังคมศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วุฒิชัย ภูดี. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาแบบ 6E ร่วมกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(1), 105–119.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา (STEM Education). กรุงเทพฯ : สสวท.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กลุ่มมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. นนทบุรี: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). กรอบสมรรถนะหลักของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กลุ่มมาตรฐานการศึกษา.

อุไร เปรมทา. (2564). การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 207-220.