การพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชา ส13102 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรมลีศรีสว่าง

Main Article Content

จุฬารัตน์ จรทะผา
อังคณา ตุงคะสมิต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรมลีศรีสว่าง โดยกำหนดเกณฑ์นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรมลีศรีสว่าง ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก โดยกำหนดเกณฑ์นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรมลีศรีสว่าง ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 11 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก จำนวน 9 แผน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย แบบบันทึกการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครู แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ท้ายวงจร แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบวัดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ผ่านเกณฑ์จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 12.09 คิดเป็นร้อยละ 80.60 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 90.91 ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 24.82 คิดเป็นร้อยละ 82.72 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กูนกานต์ ปาจรีย์. (2557). สรุปการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สร้างพลังแห่งการสื่อสาร

ด้วยอินโฟกราฟฟิก”. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566 จาก http://oots.anamai.moph.

go.th/ewt_dl_link.php?nid=419.

จงรัก เทศนา. (2558). สื่ออินโฟกราฟิกส์ (Infographics). สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566. จาก http://wb.yru.ac.th.

ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แด เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน.

เชาวลิต อัครปัญญาวิทย์ (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณเรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลยับรูพา

พิชาติ แก้วพวง. (2560). การคิดทางประวัติศาสตร์: ทักษะสำคัญของนักศึกษาครูสังคมศึกษา. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม. (2557). การพัฒนาสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนในรายวิชา ส33265 โครงงานประวัติศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษาด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรวัฒน์ วิศรุตไพศาล. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 The study of the learning management approach of school in the 21st century การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563). อินโฟกราฟิก(แนวคิดเบื้องต้น) : สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564, จาก https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=1991

ศุภณัฐ พานา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการ สืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทาง ประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ค.ด.อ

สุชาดา ปุ่มแก้ว. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมความคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สุไรยา หมะจิ. (2563). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะ ศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา.