การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะตามการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะตามการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะตามการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฯ 2) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ และ 3) แบบวัดความฉลาดทางสุขภาวะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะตามการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ความเป็นมาและความสำคัญ 2. หลักการของหลักสูตรฯ 3. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฯ 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6. โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรฯ 7. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 8. สื่อการเรียนรู้ 9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 10. เงื่อนไขในการนำหลักสูตรไปใช้ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือการใช้หลักสูตร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะตามการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความฉลาดทางสุขภาวะ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 30.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.61 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียน พบว่า คะแนนสอบของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะภาพทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การประเมินหลักสูตรที่เน้นการตัดสินใจโดยใช้วิธีเชิงระบบโดยใช้รูปแบบ CIPP Model. คู่มือการประเมินหลักสูตรระดับบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทอาร์แอนด์ปริ้นท์จำกัด
วีรวัฒน์ ยกดี และโชติกา ภาษีผล. (2565). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(105), 13-27.
แสง โชติบุญ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). สุขภาพคนไทย 2566. สืบค้น กุมภาพันธ์ 28, 2567 จาก https://www.thaihealthreport.com/file_book/ 2023-THR-situation-01.pdf.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). รายงานสุขภาพเด็กไทย. วารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย, 2(4), 345-458.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. สืบค้น กุมภาพันธ์ 28, 2567 จาก http://www.pmnidat.go.th/thai/downloads/serviceplan/SP02-65.pdf.
หทัยทิพย์ รินศรี และเกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดทำบัญชี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 101-111.
Taba, H. 1962. Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and World.