การพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึมโดยใช้รูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ

Main Article Content

ยอดขวัญ กุลเกตุ
เบญจมาภรณ์ ช้อยเครือ
สมพร หวานเสร็จ

บทคัดย่อ

เด็กที่มีภาวะออทิซึม มีพัฒนาการบกพร่องซึ่งทำให้มีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษา แนวทางการให้ความช่วยเหลือ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึมโดยใช้รูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึมก่อนและหลังการใช้รูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ กลุ่มเป้าหมายคือเด็กที่มีภาวะออทึซึม อายุ 3-7 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินทักษะการสื่อสารและแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ จำนวน 5 แผน ใช้สอนแผนละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 15 ชั่วโมง


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึมที่ได้รับการพัฒนาโดยการใช้รูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติสูงขึ้นทุกคน ดังนี้คือ คนที่ 1 ค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 1.18 ค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.72 คนที่ 2 ค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 1.22 ค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.74 คนที่ 3 ค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 1.22 ค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.76 คนที่ 4 ค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 1.24 ค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.72 คนที่ 5 ค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 1.30 ค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.68 2)เด็กที่มีภาวะออทิซึมมีทักษะการสื่อสารก่อนและหลังการใช้รูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติแตกต่างกันโดยมีทักษะการสื่อสารหลังเรียนสูงขึ้นทุกคน โดยค่าเฉลี่ยก่อนเรียนทั้งห้าคนเท่ากับ 1.23 ค่าเฉลี่ยหลังเรียนทั้งห้าคนเท่ากับ 4.72

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552. รุงเทพฯ. กระทรวงศึกษาธิการ.

ดลยา อินจำปา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับหรับผู้ดูแลเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ทิศนา แขมมณี. (2551). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นุชนาถ แก้วมาตร. (2556). นักศึกษาพยาบาลกับภาวะซึมเศร้า. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(3), 14-23.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : เจริญผล.

สุนทรี กระต่ายแก้ว. (2558). การศึกษาการลดพฤติกรรมที่ไม่มีวินัยของเด็กออทิสติกโดยใช้ชุดภาพการสอน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

Davis. Keith & John W. Newstrom. (1989). Human Behavior at Work: Organization Behavior. 8 th ed. New York: McGraw – Hill.