การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

เจนณรงค์ วุฒิสาร
วาโร เพ็งสวัสดิ์
วันเพ็ญ นันทะศรี

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดบึงกาฬ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาโดยศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะขององค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดบึงกาฬ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ  ได้แก่ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) การบริการที่ดี 3) การพัฒนาตนเอง 4) การทำงานเป็นทีม 5) การสื่อสารและการจูงใจ 6) การวิเคราะห์สังเคราะห์ และ 7) การมีวิสัยทัศน์ ซึ่งทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2559). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). ผลการประเมินสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลและข้อเสนอแนะ. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

วีรวัฒน์ มานนท์ (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่. ว.บัณฑิตวิจัยมหาวิทยาลัยราภัฏชียงใหม่.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วราภรณ์ ตระยางค์กูล (2563) สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559 ). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประสิทธิ์ เขียวศรี. (2559). การนำเสนอแบบจำลองการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปนัดดา สาริคา .(2565) ) สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปฐมสุข สีลาดเลา. (2559). การศึกษาพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหาร สถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมาเขต 1-7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา :มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.

นภาวรรณ รุ่งจำรัส และสมนึก ทองเอี่ยม (2562) สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

นงค์ แข็งแรง (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในบริบทประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2560.แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3

ธิดา ประภาศน์สินศุข. (2555). สมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พ.ฐ.).วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ.23(1). 21 – 38. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/140287

ธนัสสรณ์ พลอยทับทิมและนงลักษณ์ ใจฉลาด (2560) การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสาร The 8thNationalGraduate Research Conference on theOccasion of the 44thAnniversary of Ramkamhaeng University’s Establishment.Volume8,41-50.