อิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีผลต่อความนิยมของพรรคเพื่อไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีผลต่อความนิยมของพรรคเพื่อไทย 2) แนวทางในการพัฒนาอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีผลต่อความนิยมของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ จากการเก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักวิชาการสื่อมวลชน จำนวน 3 คน สื่อมวลชนทางด้านการเมือง จำนวน 5 คน นักวิชาการรัฐศาสตร์ จำนวน 3 คน ตัวแทนพรรคการเมือง จำนวน 3 คน และประชาชนที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย ด้วยการตีความสร้างข้อสรุปข้อมูลจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นที่เก็บรวบรวมมาได้จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลของสื่อมวลชนด้านบทบาทของสื่อมวลชน ด้านกระบวนการทำงานของสื่อ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อมวลชนมีผลต่อความนิยมของพรรคเพื่อไทย และ 2) แนวทางในการพัฒนาอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีผลต่อความนิยมของพรรคเพื่อไทย โดยสื่อมวลชนควรผลิตสื่อที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่โฆษณาเกินความเป็นจริง มีจริยธรรมในการนำเสนอเนื้อหาของสื่อผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่นำเสนอข่าวที่เป็นการยั่วยุหรือชี้นำที่เป็นการทำให้แตกแยก และควร ให้โอกาสตัวเองในการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน
Article Details
References
กรภพ ธัญญกรณ์ภูวดล และพิมนกาลล์ ธีร์ก้านพลูกลาง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารราชนครินทร์, 17(1), 11-19.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2556). การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2545). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์.
ไชยา พรหมา. (2563). พรรคการเมืองกับการสร้างความนิยมทางการเมือง: กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 3(2), 56-77.
ณัชชา พัฒนะนุกิจ. (2566). สื่อมวลชนกับจริยธรรมและจรรยาบรรณในยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media). สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 12, 2566, จาก https://www.presscouncil.or.th/ethics/4280.
ณัฐพงษ์ ธรรมทอง. (2562). ทัศนคติของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครที่มีต่อพรรคอนาคตใหม่ : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2562. (การค้นคว้ารัฐศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ณัฐพร ยงวงศ์ไพบูลย์ และคณะ. (2565). ความนิยมทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐในกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตรปริทรรศน, 5(4). 121-133.
ทรงยศ บัวเผื่อน. (2559). บทบาทสื่อมวลชนในยุค คสช. กับการส่งเสริมประชาธิปไตยให้ประชาชนในภาคตะวันออก. (รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. (การค้นคว้ารัฐศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พรรคเพื่อไทย. (2566). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพรรค. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 12, 2566, จาก https://ptp.or.th/.
ภาณุพงษ์ ทินกร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลและแนวทางกากับดูแล. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เลอภพ โสรัตน์ และคณะ. (2556). บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 7(1), 96-107
สมควร กวียะ. (2555). การประชาสัมพันธ์ใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จาก https://www.watnyanaves.net/th/book-full-text/347.
สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ. (2562). การเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย. (2566). อิทธิพลของสื่อ ความเด่นชัดใน “อดีต” จนเป็นรูปธรรมใน “ปัจจุบัน”. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 12, 2566, จาก https://www.thaibja.org/.
สรรพัชญ์ เจียระนานนท์. (2561). บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคที่ใคร ๆ ก็ (อยาก) เป็นสื่อได้. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 12, 2566, จาก http://www.presscouncil.or.th/archives/4113.
สุมาธิกานต์ สังวาลไชย. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ระหว่างปี 2555 - 2563 : กรณีศึกษา พื้นที่ตาบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Lasswell, H. D. (1948). The structure and function of communication in society. In L. Bryson (Ed.), The communication of ideas (pp. 37-51). New York: Harper and Row.
Mcquail, Denis. (1987). Theory of Media and Theory of Society. London: Sage Publication.
Promise Omo-Obas. (2016). The influence of political party branding on voting brand preference among the youth in South Africa. (A Thesis of master’s Dissertation Marketing). University of the Witwatersrand: South African.