การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1

Main Article Content

สิริกมล ศรีเดช
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 จำแนกตามเพศ  ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมีค่าความตรงตามเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ LSD


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างการยอมรับร่วมกันว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นความจำเป็นรีบด่วน รองลงมา คือ ด้านการสร้างความสำเร็จให้กับเป้าหมายระยะสั้นอยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนด้านที่เหลืออยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดถึงต่ำสุด คือ ด้านการผลักดันความสำเร็จให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านการสร้างความสำเร็จที่เกิดขึ้นให้ยั่งยืน ด้านการพัฒนาวิสัยทัศน์และกำหนดกลยุทธ์ให้เข้าใจร่วมกัน  ด้านการลดแรงต่อต้านสร้างแรงสนับสนุน ด้านการสื่อสารเพื่อส่งเสริมสนับสนุน และด้านการสร้างทีมงานส่งเสริมความร่วมมือ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานศึกษาจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในภาพรวม ยกเว้น ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

ภัลลพ สุขพลาย. 2562. การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการ

บริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ฉะเชิงเทรา เขต 1. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

คณะบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วรรณภา เอราวรรณ์. 2561. การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผล

ต่อการจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

เพชรบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะ

บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วีรยุทธ ก้องหล้า. 2565. การบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส

ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. ปริญญา

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัย

พะเยา.

วุฒิศักดิ์ ชูชื่น. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและ

เทคโนโลยีอีสเทิร์น. ปีที่ (11 (1) มกราคม – มิถุนายน 2557) : 69-76.

ศศิมล ทิมพิทักษ์. 2556. การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็น

ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1.

ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบัณฑิตวิทยาลัย,

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. 2565. การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการ

ศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19. ในรายงานการประชุมสัมมนาผลการเรียนรู้ของ

เด็กไทยในสถานการณ์โควิด-19: ข้อค้นพบและข้อเสนอเพื่อการพัฒนา, 5-15. กรุงเทพฯ :

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Kotter, John P. (2012). Leading Change. NY: Harvard Business Review.

Kotter, John P. & Porter, Michael E. (2010). HBR’s 10 Must Reads: The Essentials.

NY : Harvard Business Review.