การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write รายวิชา ส15101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังม่วง

Main Article Content

วราภรณ์ ตรงธิ
อังคณา ตุงคะสมิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)ร่วมกับเทคนิคThink-Talk-Write รายวิชา ส 15101 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังม่วง โดยกำหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส 15101 สังคมศึกษาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังม่วง โดยใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ร่วมกับเทคนิค Think - Talk – Write โดยกำหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังม่วง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค Think - Talk – Write จำนวน 9 แผน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารญาณท้ายวงจร แบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการใช้แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านเกณฑ์จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 26.98 คิดเป็นร้อยละ 89.93 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลจากการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่านักเรียนมีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 90.00 ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 24.90 คิดเป็นร้อยละ 82.99 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.พิมพ์

ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดิเรก ฤกษ์สาหร่าย. (2528). ทัศนคติทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึกหรือ

ทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำของบุคคลที่มีต่องานในทางบวก. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.

เดช พละเดช. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วย

วิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ

สื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วย

วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 21103. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ทิศนา แขมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร :

นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2545). สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร.กรุงเทพฯ:

องค์การค้าคุรุสภา.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2550). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครู

วิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่

(พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก htp:/wa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20173013-education-dovelopment -plan-12.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2566, จาก http:/tww.onec.go.th

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552).

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ดามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุคนธ์ สินธิพานนท์, วรรัตน์ วรรณลิศลักษณ์ และพรรณี สินธิพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการ

คิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2552). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียน มิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 14

กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.addkutec3.com

อารีย์ พรหมโม้. (2541). เรามาฝึกการคิดวิเคราะห์กันเถอะ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์

อุษณีย์ โพธิสุข. (2544). แผนที่สู่การพัฒนาอัจฉริยะ . (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี–

ฤษดิ์วงศ์.