การบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

Main Article Content

ภาขวัญ สวนดอกไม้
คึกฤทธิ์ ศิลาลาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำนวน 291 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การกำหนดตัวอย่างวิจัยแบบสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's multiple comparison method)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของการศึกษาการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการให้อำนาจ รองลงมาด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ด้านการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการไว้วางใจ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า ครูที่มีเพศต่างกัน วุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบครูที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

ณัฎฐกิตติ์ บุญเก่ง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต.ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธันยนันท์ สุริยาวิชญ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความไว้วางใจกับพนักงานในองค์กร. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภัสรพี ปรางศรี, วิรัลพัชร วงษ์วัฒน์เกษม, สุวัฒนพงษ์ ร่มศรี. (2565). ความต้องการในการ พัฒนาตนเองของครูและบุคลากร สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

นวลละออ แสงสุข วไลพรรณ อาจารีวัฒนา. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายปฎิบัติ. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นาตยา สุวรรณจันทร์,นัฏจรี เจริญสุข,สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์. (2560). การศึกษาความเครียด ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 11. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปิยนันท์ ศิริโสภณ. (2565). วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

พระครูเหมเจติยาภิบาล.พระจิรายุ เพช็ชรลุ. (2562). พฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหาร สถานศึกษาในการบริหารงานตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารมงกุฎทักษิณ ปีที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562).

ภานุวัฒน์ การศแก้ว. (2559). มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. ศึกษาศาสตรบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วราภรณ์ ตันเส็ง. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนของครู โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัลลภ บุตรเกตุ. (2562). วัฒนธรรมองค์การกับความสุขในการทางานของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, L., Mansion, L., & Marrison, K. (2018). Research Methods in Education. 8th

edition. New York: Routledge.

Ellis, Norman E.; & Jooslin, Anne W. (1990). Shared Govemance and Responsibility the Keys to Leadership, Commitment and Vision in School Reform. New York.

Lewicki, R. J., McAllister, D. J., & Bies, R. J. (1998). Trust and distrust: New relationships and realities. Academy of Management Review, 23, 438-458.

Matthew Lynch. (2020: ออนไลน์). 7 WAYS THAT PRINCIPALS CAN INFLUENCE SCHOOL CULTURE. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566.

Patterson, K. J. (1986). Teaching Personalized Decision Making. Santa Clara Country K - 12 Carcer Education Comsortium. San Jose : n. p. 148.

Tannenbaum, R, & Schmidt. (1973) W. H. How to Choose a Leadership Pattern. Boston: A Harvard Business Review.

Tracy, D. (1990). 10 Step to Empowerment: A Common-Sense Guide to Managing people. William Morrow.