สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบของสมรรถนะผู้บริหาร 2) ระดับสมรรถนะผู้บริหาร 3) ระดับการปฏิบัติงานของครู 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครู 5) อำนาจพยากรณ์ของสมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู และ6) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 238 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสมรรถนะผู้บริหาร มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32-0.73 และค่าความเชื่อมั่น 0.93 และด้านการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 - 0.96 และค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- สมรรถนะผู้บริหารมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ภาวะผู้นำ 2) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3) การทำงานเป็นทีม 4) ทักษะ และ5) ความรู้
- สมรรถนะผู้บริหาร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- สมรรถนะผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
- สมรรถนะผู้บริหารด้านที่มีอำนาจพยากรณ์การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ความรู้ (X2) ทักษะ (X4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (X2)
- แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร มีจำนวน 3 ด้าน คือ 1) ความรู้ 2) ทักษะ และ3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์
Article Details
References
ฐิติณัฐ ปรุงชัยภูมิ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
นภารัตน์ หอเจริญ. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรวลี ตรีประภากร. (2564). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ก, หน้า 51.
พิทูล ไชยศิริ (2560). สมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบรบือวิทยาคาร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ร้อยเอ็ด :มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีวิยาสาส์น.
วิชเทพ ฦาชาฤทธิ์. (2564). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน“ล้าสมัย ไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ยุค 4.0”. Siam Edu News. เสวนากับบรรณาธิการ 11 กันยายน 2564 www.EDUNEWSsiam.com.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). แนวทางการประกันคุณภาพในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. (2565). คู่มือการนิเทศ ติดตาม วัดและประเมินผล. สกลนคร: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร.