ธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุขสันต์ ไชยรักษา
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาธรรมาภิบาลของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของผู้บริหาร 3) เพื่อศึกษาธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2566 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) มีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ หลักคุณธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ หลักความโปร่งใส

  2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา

  3. ธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก มี 4 ด้าน คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส และหลักความมีส่วนร่วม ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในทางบวก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลของผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมมาปรับให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา มีการประชุมครูบุคลากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักในภารกิจของแต่ละบริบทของตนเอง มีเอกสารหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ยืดหยุ่นการบริหารสถานศึกษาไปตามสถานการณ์ เปิดช่องทางให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้สะท้อนปัญหาความต้องการของแต่ละบุคคลผ่านช่องทางที่หลากหลาย ใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยโดยคำนึงถึงความประหยัด และความคุ้มค่าอย่างเป็นธรรม ถูกต้อง และเหมาะสม

 


คำสำคัญ : ธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

ฉัตรมงคล สูงเนิน. (2561). "แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธนิต ทองอาจ. (2553). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทีส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร.รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ราชัญ สมทบ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สมมาตร คงชื่นสิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (2566). สภาพบริบทของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ศุภณัฐ กุมภาว์. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7): 289-303..

Ahmed, M. A., & Koech, P. (2019). Influence of public governance on service delivery in Benadir municipality, Somalia. International Journals of Academics & Research, 1(2), 196-206.

Bennis, Werren G. (1971). “Toward a Truly Scientific Management: The Concept of Organization Health” in Chorpade. J, (ed.) Assessment of Organizational.

Gibson, J.H., John, M.I. & James H.D. (1982). Organizations: Behavior structure andProcesses. (4thed.), Austin, TX: Business Publications.

Hoy, W.K. and Ferguson, J (1985). A Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School. Educational Administration Quarterly, 21 (2) :121-122.

Majdulien M. Al–Qa'oud. (2016). "The Requirements of Good Governance at Schools of Public Education for Girls in Al Madinah Al Munawarah from the Viewpoint of Female School Principals", Scientific Research Journal, 4, 8.

Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York: Harper and Row. Northcraft.