แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.88 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified ) ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระดับสภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ (PNIModified= 0.93) ที่ 2) ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัย (PNIModified =0.90) และ 3) ด้านการควบคุมและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน (PNIModified = 0.89) 4) ด้านการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (PNIModified =0.88) 5) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (PNIModified =0.87) 6) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน (PNIModified =0.85)
ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา ควรดำเนินการต่อไปนี้ 1) ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการด้านจิตสาธารณะ ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้มีส่วนร่วมกับชุมชนในการแสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะ และสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีต่อครูและนักเรียนโดยการยกย่องเชิดชูในฐานะแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนและชุมชน 2) ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัย ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนงานด้านสุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยแก่ครูและนักเรียน การสนับสนุนให้ครูและนักเรียนเข้ารับการอบรมการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ และจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพของทุกคน 3) ด้านการควบคุมและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักเรียนและการจัดตั้งภาคีเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อร่วมกันติดตามและแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนร่วมกัน 4) ด้านการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนสำรวจและเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลายมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย และสร้างภาคีเครือข่ายทั้งภายนอกและภายในด้านการดูแล ติดตาม ช่วยเหลือ และส่งต่อ อย่างเป็นระบบ 5) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่อง การวางแผนการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมให้กับผู้เรียน โดยการสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ให้แก่ผู้เรียนแสดงออกในทางที่ดี ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเองอย่างแท้จริง 6) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนการจัดกิจกรรม การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านประชาธิปไตยเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเคารพตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2566) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). 2562.––
จเร พัฒนผล (2561). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนสำหรับโรงเรียน
ประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
นาราชนก กองทองหลาง. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนโนนสูงศรีธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. การศึกษา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สิริธร ยิ้มประเสริฐ (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมจิตสารธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา.
สุรางคนา มัณยานนท์. (2563, มกราคม - เมษายน). การบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนปทุมราชวงศา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ .(2564) รายงานประจำปีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ.