แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.88 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified ) ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระดับสภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ (PNIModified= 0.93) ที่ 2) ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัย (PNIModified =0.90) และ 3) ด้านการควบคุมและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน (PNIModified = 0.89) 4) ด้านการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (PNIModified =0.88) 5) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (PNIModified =0.87) 6) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน (PNIModified =0.85)
ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา ควรดำเนินการต่อไปนี้ 1) ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการด้านจิตสาธารณะ ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้มีส่วนร่วมกับชุมชนในการแสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะ และสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีต่อครูและนักเรียนโดยการยกย่องเชิดชูในฐานะแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนและชุมชน 2) ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัย ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนงานด้านสุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยแก่ครูและนักเรียน การสนับสนุนให้ครูและนักเรียนเข้ารับการอบรมการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ และจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพของทุกคน 3) ด้านการควบคุมและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักเรียนและการจัดตั้งภาคีเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อร่วมกันติดตามและแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนร่วมกัน 4) ด้านการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนสำรวจและเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลายมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย และสร้างภาคีเครือข่ายทั้งภายนอกและภายในด้านการดูแล ติดตาม ช่วยเหลือ และส่งต่อ อย่างเป็นระบบ 5) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่อง การวางแผนการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมให้กับผู้เรียน โดยการสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ให้แก่ผู้เรียนแสดงออกในทางที่ดี ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเองอย่างแท้จริง 6) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ควรมีการดำเนินงานในเรื่องการวางแผนการจัดกิจกรรม การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านประชาธิปไตยเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเคารพตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กระทรวงศึกษาธิการ.(2566) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 2) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). 2562.––
จเร พัฒนผล (2561). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนสำหรับโรงเรียน
ประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
นาราชนก กองทองหลาง. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนโนนสูงศรีธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. การศึกษา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สิริธร ยิ้มประเสริฐ (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมจิตสารธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา.
สุรางคนา มัณยานนท์. (2563, มกราคม - เมษายน). การบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนปทุมราชวงศา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ .(2564) รายงานประจำปีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ.