การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่ส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำพองศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.08/87.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่าโดยรวม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.45, S.D. = 0.55)
Article Details
References
กัลยา ทองอ้วน. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กายสิทธิ์ ศรีทา. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ โดยใช้รูปแบบของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ญาธิดา สวนกุล. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติเดวีส์ร่วมกับรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pacific/article/download/260421/178027/1021670
ทิศนา แขมมณี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวัน วัฒนมงคลสุข. (2560). เทคนิคการสอนไวยากรณ์ภาษา อังกฤษแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน. JOURNAL OF AKHONRATCHASIMA COLLEGE, 11(3), 277- 287.
ประภาภรณ์ ศรีคำม้วน. (2562). การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning). สืบค้นจาก https://praphapornsri.blogspot.com/2019/02/researchbased-learning.html
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2558). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 7(1), 89-106.
รสสุคนธ์ เพ็ญเนตร. (2561). การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแนวคิดการสอนปฏิบัติของแฮร์โรว์ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิณา นิยมสุข และฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อารยา เลี่ยงสกุล. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เรื่องงานประดิษฐ์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. พังงา: โรงเรียนเทศบาลบ้านย่านยาว.
Davies, I. K.(1971). Instructional Technique. New York: McGraw-Hill.
Maynard, W.S. (1975). Responding to Social Change. Pensylvania : Dowden Hutchison.