การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่ส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำพองศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.08/87.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่าโดยรวม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.45, S.D. = 0.55)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กัลยา ทองอ้วน. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กายสิทธิ์ ศรีทา. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ โดยใช้รูปแบบของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ญาธิดา สวนกุล. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติเดวีส์ร่วมกับรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pacific/article/download/260421/178027/1021670
ทิศนา แขมมณี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวัน วัฒนมงคลสุข. (2560). เทคนิคการสอนไวยากรณ์ภาษา อังกฤษแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน. JOURNAL OF AKHONRATCHASIMA COLLEGE, 11(3), 277- 287.
ประภาภรณ์ ศรีคำม้วน. (2562). การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning). สืบค้นจาก https://praphapornsri.blogspot.com/2019/02/researchbased-learning.html
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2558). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 7(1), 89-106.
รสสุคนธ์ เพ็ญเนตร. (2561). การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแนวคิดการสอนปฏิบัติของแฮร์โรว์ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิณา นิยมสุข และฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อารยา เลี่ยงสกุล. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เรื่องงานประดิษฐ์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. พังงา: โรงเรียนเทศบาลบ้านย่านยาว.
Davies, I. K.(1971). Instructional Technique. New York: McGraw-Hill.
Maynard, W.S. (1975). Responding to Social Change. Pensylvania : Dowden Hutchison.