การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคความปกติใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

ณรงวิทย์ เกิดรอด
ปัญญา ทองนิล
อภิชาติ เลนะนันท์

บทคัดย่อ

การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคความปกติใหม่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงยุคปกติใหม่ 2) ระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 3) การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคความปกติใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 76 คน และครูผู้สอนจำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงยุคปกติใหม่โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก ยกเว้นด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 2) ระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาใหม่โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านคุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 3) การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคความปกติใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 คือ การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนัก และการรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ โดยมีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 56.80 สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้  tot  = 1.021+0.168(X2)+0.266(X6)+0.194(X1)+0.147(X5)


                  ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคความปกติใหม่ด้านเทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามากกว่าด้านอื่น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน

Article Details

บท
Research Articles

References

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษาและพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะโควิด 2019. 7(4), 8.

ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอง 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

ยลพรรษย์ ศิริรัตน์. (2561). ตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัยวุฒิ บุญลอย, ธีรังกูร วรบำรุงกุล, มนตรี วิชัยวงษ์ และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564). โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 2564

วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2563). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 13.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาความร่วมมือระหว่างรัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาตามกฎหมายและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

Bennis,Warren G. (1969). Organization Development : lts Nature, Origin and

Prospects. Reading.Mass : Addison – Wasley Publishing Co.

Caeeell, M. R., Jennings. D. F., & Heavrin, J. D. (1997). Organizational Behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice – Hall.

Cumming.T.G. & Worley, C.G. (2005). Organization Development and Change. 8th

ed. Thomson South – Western

Dubrin. AJ (1984). Foundation of Orgonizotional Behavior : An. Applied perspective.

Englewood Cliffs N.J. : Prentice-Hall.

Evans & Colin, W. (1978). Powered and Porticulate Rubber Technology. London: Applied Science Publishers.

french, Wendell L., and Cecil, H. Bell, Jr.(1990). Organizationol Development: Behovioral Science Interventions for Organization Improvement (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Holl.

Force, T., & Unesco. (2020). 7 ways to help teachers succeed when schools

reopen. Retrieved November 30, 2021.

From https://www.educathai.com/knowledge/articles/362?fbclid=

IwAR2VlQDYmsV5kGvsHb5 FnXAqZjjlFi6vz4ctTyHr1wYYNcPmFLsBG1HbO0.

Fullan& Michael, A. (1993). Change Forces. San Diego : The Falmer Press. Bristol.

Ghoshal, S. & Bartett, C.A. (1996). Rebuilding Behavioral Context: A Blueprint for Corporate Renewal. Stoan Management Review. 37 (2), 23-36.

Greenberg, J. & Baron, R. A. (1997). Behavior in Organizations. New Jersey :Prentice-

Hail.IBIS, Concept Paper: Quality Education, accessed December 12, 2021,

available from http://ibis-global.org/sites/default/files/media/pdf_global/

methods_and_approaches/concept_paper_layout_final-quality.pdf

Kotter, J.P. (1996). Leading Change. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Lieberman, A. Darling-Hammond, L.and Zuckerman, D. (1999). Early fesson cturing school.New York: National Center for restructuring Education

Nikols, F. (2007). Change Monagement. Available from

http://ho.e.att.net/nikols/change.html.

Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD, Education Policy Outlook Finland, accessed December 6, 2021, available from

Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness: A Behavioral View. Santa Monica: Good year Publishing Company.lnc.UNESCO, รายงานการติดตามผลทั่วโลก เรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน (EFA) 2015 (Paris: UNESCO, 2015), 39-43.

UNICEF, Defining Quality in Education (New York: The United Nations Children’s Fund, 2000), 3-21

Wexley.k. N. & Latharm. G. P. (1991). Developing and Training Human Resources in Organization (2nd ed.). New Yark: Harper Collins.

Yukl, G. A. (1989). Leadership in Organizations. 2nd ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice

Hall.