ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

Main Article Content

นรีรัตน์ บุญเพชรแก้ว
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ และ 4) สร้างสมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 269 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนมีความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1.1) การมีแบบแผนทางความคิด 1.2) ความสามารถในการคิดเชิงระบบ 1.3) ความสามารถในการเป็นบุคคลที่รอบรู้ 1.4) ความสามารถในการเรียนรู้ของทีม และ 1.5) ความสามารถในการมีวิสัยทัศน์ร่วม 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 2.1) ภาวะผู้นำทางวิชาการ 2.2) การจูงใจ 2.3) โครงสร้างขององค์การ 2.4) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ 2.5) เทคโนโลยี และ 2.6) วัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์การ 3) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน กับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ วัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์การ(X2) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์(X4)  และการจูงใจ(X6) ซึ่งสามารถพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนได้ ร้อยละ 69.20 เขียนเป็นสมการทำนายในรูปของคะแนนมาตรฐาน คือ


mceclip0.png= 0.074 (X1+ 0.123* (X2) + 0.100 (X3) + 0.121* (X4) +.035 (X5) + 0.690* (X6)

Article Details

บท
Research Articles

References

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2561).การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ใน ประมวลสาระชุดนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ (หน่วยที่ 2, น.6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐาปนีย์ เปริญกล. (2556). องค์กรแห่งการเรียนรู้ในตำบลโคกสะอาด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทองเพียร เตยหอม. (2562). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นครินศร์ จับจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

เนตรชนก นามเสนาะ. (2549). แรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการสถานทูตฯ. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประกาย ศิริสำราญ .(2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ปราณี ตันประยูร. (2560). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 35-44.

ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิเชียร วิทยอุดม. (2549). พฤติกรรมองคการ (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธีระฟลมและไซเท็กซ

วีรวัฒน์ ปันนิตามัย. (2543). เชาวน์อารมณ์ (EQ) : ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท.

วิเศษ ชาวระนอง. (2559). รูปแบบการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริภรณ์ จำปาทอง .(2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. (2560). การวิเคราะห์สถานภาพขององค์การเพื่อกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. (2563). การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สี่ (พ.ศ.2559-2563) สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สายฝน พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครส่วนระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร.

อุดม ชูลวีรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Kaiser. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a Model of Organizational Learning. Ph.D. Dissertation, Louisiana State University, U.S.A.

Marquardt. (2002). Building the learning organization: mastering the 5 elements for corporate learning. Palo Alto, C.A.: Davies-Black.

Marquardt and Reynolds. (1994). The Global Learning Organization. New York: IRWIN.