การจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย เมื่อได้รับการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเมืองเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย หน่วยการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 8 หน่วย หน่วยละ 5 แผน รวมทั้งสิ้น 40 แผน และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย เพื่อใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). บทเรียนจากกาหลีใต้การเปลี่ยนผ่านประเทศที่มีรายได้สูง.
กรุงเทพฯ: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์.(2553). ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก
ปฐมวัยสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ :
แม็ค.คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ณัฐพร สาทิสกุล.(2557). ผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาล.บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล โชติกพานิชย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ใช้พหุปัญญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ใน
พระบรมราชูปถัมภ์
นารวี อิ่มศิลป์. (2564). การพัฒนาจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงการ โรงเรียนโสมาภาพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ประวัติ พื้นผาสุข. (2562). การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนบ้านเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พัชราภรณ์ พุทธิกุล.(2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการ
เรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่เพื่อเสริมพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ของเด็กอนุบาล. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิกุล เกิดปลั่ง.(2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชมลคลธัญบุรี.
เยาวนาตร อินทร์สำเภา. (2552). ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง ที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตพิบูล
บำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
รุ่งลาวัลย์ ละอำคา. (2561). การพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
นนทบุรี:
สุนทรี สมคำ.(2558). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2564). แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2559 – 2564. กรุงเทพฯ : ส่วนนโยบายและแผน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). งบประมาณโดยสังเขป ประจำปี2565. กรุงเทพฯ :
บริษัท แพค เพรส จำกัด.
สำรวย สุขชัย. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.ปริญญานิพนธ์.กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.