ความยั่งยืนของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริการของชุมชนผู้ให้บริการด้านการท่องเทียวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและศึกษาจากภาคสนาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มย่อยและทำกิจกรรมพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า ด้านรูปแบบการบริการของชุมชนผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่า รูปแบบการบริการได้ปรากฏใน 2 มิติ คือ มิติที่ 1 การบริการที่เริ่มต้นจากนโยบายด้านการท่องเที่ยวจากภาครัฐและได้ส่งต่อมาสู่ระดับปฏิบัติการที่ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนจะต้องปฏิบัติร่วมกันโดยภาครัฐจะอยู่ทั้งในฐานะเป็นผู้กำหนดนโยบายและเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายควบคู่กับภาคประชาชน มิติที่ 2 การบริการที่เป็นการขับเคลื่อนตามธรรมชาติอันได้แก่ภาคประชาชนที่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร รถบริการรับจ้าง ซึ่งเป็นการประกอบการเพื่อเลี้ยงชีพของตนตามปกติที่ถึงแม้จะไม่มีนโยบายด้านการบริการจากภาครัฐมากำกับดูแล กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวก็มีรูปแบบการให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่เป็นของเฉพาะตนอยู่แล้ว ด้านการพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่า ในการพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในงานบริการของชุมชนภาคบริการสรุปได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่การพัฒนาหรือทำสิ่งที่ยังไม่มีให้เกิดมีขึ้นและการพัฒนาหรือทำสิ่งมีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นโดยเน้นการบรรยายองค์ความรู้และให้แนวทางในการนำไปใช้ ในขณะที่ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานบริการของชุมชนภาคบริการด้านการท่องเที่ยวท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พบว่า เครือข่ายความร่วมมือที่ใหญ่และสำคัญที่สุดคือหน่วยงานภาครัฐกับภาคประชาชน รองลงมาคือเครือข่ายภาคประชาชนกับประชาชนที่ประกอบอาชีพด้านการบริการที่แตกต่างกัน โดยในประเด็นการเสริมสร้างเครือข่ายสรุปได้ว่าสมาชิกในเครือข่ายจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึง 1) ความจำเป็นในการมีเครือข่าย 2) ความเป็นเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบ 3) การวิเคราะห์บทบาทสมาชิกในเครือข่าย 4) ผลประโยชน์จากการทำงานเชิงเครือข่าย เมื่อเข้าใจในสาระสำคัญทั้ง 4 ประการนี้แล้วจึงควรทำหน้าที่ที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่มวลสมาชิกในเครือข่าย และ 5) การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางวัฒนธรรม
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อยใน
เขต เทศบาลเมืองลำพูน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นราธิวาสวันนี้. http://www2.narathiwat.go.th/nara2016/content/general.pdf.(ออนไลน์)
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565. หน้า 4.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปฏิรูประบบราชการ
ปัจจุบันของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(ออนไลน์).
https://secretary.mots.go.th/news_view.php?nid=1508. วันที่ 3 มีนาคม 2565.
Andrew &Stiefel อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์. “การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนใน
การพัฒนาชุมชนย่อยในเขต เทศบาลเมืองล้าพูน”.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
https://laymaneconomicsblog.wordpress.com/2016/10/11/ภาคบริการในเศรษฐกิจไทย/
ออนไลน์ วันที่ 18 ตุลาคม 2564.
https://tuccplc.com/ออนไลน์ วันที่ 19 ตุลาคม 2564.
http://www.moi.go.th/portal/page?_pageid=814,1066832&_dad=portal&_schema=P
ORTAL ออนไลน์ วันที่ 18 ตุลาคม 2564
Kasperson&Breitbank อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์. “การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
ชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อยในเขต เทศบาลเมืองลำพูน”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546).