การพัฒนาทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมปริศนาคำทาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมปริศนาคำทาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน, 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมปริศนาคำทาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมปริศนาคำทาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อกิจกรรมเกมปริศนาคำทาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะด้านการฟังของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมปริศนาคำทาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะการฟังของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกมปริศนาคำทาย โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ( = 4.73)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์
. (2551) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย กรุงเทพมหานคร
เบรนเบสบุ๊กส์
ณัฐจิตต์ ลิมวนาทิพงษ์. (2542) “การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ธนวดี ศุกระกาญจน์. (2544) “ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนโรงเรียนสาธิตอนุบาลลอออุทิศ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นิตยา ประพฤติกิจ. (2539) การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
เยาวพา เดชะคุปต์. (2540) “การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย” กรุงเทพฯ: ภาควิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2538) หลักการวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทวีกิจการพิมพ์
สถิรนันท์ อยู่คงแก้ว. (2541) ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสรุปกิจกรรมในวงกลมโดยใช้เทคนิคการสร้างสมุดเล่มใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ. (2545). การวัดและประเมินแนวทางใหม : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หรรษา นิลวิเชียร. (2535) ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
หริณญา รุ่งแจ้ง. (2549) “ผลการจัดกิจกรรมแบบให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมที่มีต่อทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อารีรักษ์ รักษ์ธัญการ. (2548) “ผลการจัดกิจกรรมแบบให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านศาลเจ้าไก่ต่อ” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Fontana, D. (1995). Psychology for Teacher. 3rd ed Houndwills : McMillan.