การประยุกต์ใช้หลักอริยทรัพย์ 7 เพื่อการพัฒนาองค์กร สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาหลักอริยทรัพย์ 7 ประการในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหากระบวนการการพัฒนาองค์กรของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย และ 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักอริยทรัพย์ 7 เพื่อการพัฒนาองค์กรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย จากการวิจัยพบว่า หลักอริยทรัพย์ 7 ประการในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ทรัพย์ภายในเป็นคุณธรรมประจำใจอันประเสริฐ 7 ประการได้แก่ 1) ศรัทธา ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และความเชื่อที่มีเหตุผล 2) ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย สัมมาวาจา 3) หิริ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว 4) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว 5) สุตะ/พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก 6) จาคะ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ 7) ปัญญาความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิดรู้พิจารณาและรู้ที่จะจัดทำ สภาพปัญหากระบวนการการพัฒนาองค์กรของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย เป็นการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีรูปแบบและระบบที่มีความชัดเจนแต่ละคนมีภาระงานหน้าที่รับผิดชอบตามตำแหน่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนมากเป็นปัญหาส่วนบุคคล เช่น การนำปัญหาภายนอกเข้ามาในองค์การที่ส่งผลในเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง ปัญหาแบ่งกลุ่มทางความคิดเห็นตามกระแสของสื่อที่สงผลในเรื่องการขาดความสามัคคีในองค์กร เป็นต้น
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2551), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,
พิมพ์ครั้งที่ 16, กรุงเทพมหานคร: เอส. ริ้นติ้ง แมสโปรดักส์
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2539), ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง, พิมพ์ครั้งที่ 30, กรุงเทพฯ:
มูลนิธิพุทธธรรม.
พุทธทาสภิกขุ, (2550), สรรนิพนธ์พุทธทาสว่าด้วยวิถีประชาธิปไตยและหัวใจเศรษฐกิจ
พอเพียง, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
พระมหานรินทร์ นรากรนิธิกุล, (2545), “การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอริยทรัพย์ใน
พระพุทธศาสนาเถรวาท”, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชบัณฑิตยสถาน, (2556), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554, พิมพ์ครั้งที่1,
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539), พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สุทธิพร สายทอง, (2557), “การจัดการความรู้เชิงพุทธสู่การพัฒนาองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบน”, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
สุทธญาณ์ โอบอ้อม, (2558), “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามแนวพระพุทธศาสนา”, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
อนุวัต กระสังข์, (2557), “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแส
บริโภคนิยม”,บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย