การประเมินความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อผู้บริหารในการส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อผู้บริหารด้านความปลอดภัยในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อผู้บริหารด้านความปลอดภัยในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อด้านความปลอดภัยในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อผู้บริหาร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 194 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่เป็นจริงเท่ากับ 0.956 ค่าความเชื่อมั่นสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.947 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.928 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อผู้บริหารในการส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวิเคราะห์และจัดอันดับความต้องการจำเป็นรายด้านพบว่า ความต้องการจำเป็นด้านที่3 ภัยที่เกิดจากถูกละเมิดสิทธิ์ มีค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) สูงที่สุด 0.37 สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรายด้านของสภาพที่เป็นจริง ซึ่งพบว่าด้านที่ 3 ภัยที่เกิดจากถูกละเมิดสิทธิ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด( = 3.27, = 0.86) และมีค่าสภาพที่ควรจะเป็นมาก( = 4.49, = 0.50) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อสถานศึกษาจัดให้มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่ดูแลเรื่องภาวะจิตเวชในวัยเรียน มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.69 เป็นความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ สถานศึกษาจัดให้มีตู้รับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ส่วนแนวทางในการส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน คือ การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเบื้องต้น เพื่อให้คุณครูสามารถคัดกรองนักเรียนที่เริ่มมีปัญหา เพื่อให้การดูแลเบื้องต้นและโรงเรียนควรมีการมีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก ที่สามารถดูแลเรื่องภาวะจิตเวชในวัยเรียน และสามารถส่งต่อกรณีนักเรียนมีปัญหาด้านจิตเวชได้ทันที เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ
Article Details
References
กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร(2564).พฤติกรรมและผลกระทบจากการติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 15 ฉบับที่ 38 กันยายน-ธันวาคม 2564.
จิตพิสุทธิ์ แทนวัน(2553).แนวทางการลดความรุนแรงของนักเรียนในสถานศึกษาโดยใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสะอาดหนองเรือ
สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553
ฐิตวันต์ หงส์กิตติยานนท์.(2564).โรคสมาธิสั้นในเด็กนักเรียน : บทบาทครูและแนวทางการช่วยเหลือในโรงเรียน.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2564.
นรินทร์ สังข์รักษา(2554).การสังเคราะห์ความรู้ทางด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ จากเรื่องเล่าความสำเร็จของครูและนักเรียนในระบบการศึกษา : การพัฒนาหน่ออ่อนทางการศึกษา สร้างจิตปัญญาในการเรียนรู้สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (มกราคม - มิถุนายน 2554).
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. (2546, 24 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา.
สุวณีย์ ศรีวรมย์.(2555).สภาพและปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2555.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560).แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เอมอัชฌา (รัตน์ริมจง) วัฒนบุรานนท์.“ความปลอดภัย Safety”.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2548
อัมพร ธำรงลักษณ์(2552).การคุกคามทางเพศในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร : สาเหตุและข้อเสนอทางนโยบาย วารสารวิชาการ มรภ.บุรีรัมย์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2009): มกราคม - มิถุนายน 2552.
Krejcie, R.V. and. D.W.Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30: 608-609.