การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์นิสัย HABITSCAN ร่วมกับการใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ธัญวรัตน์ ชูรัตน์
ณัฐกฤตา นามมนตรี

摘要

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์นิสัย HABITSCAN ร่วมกับการใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบใช้โครงงานเป็นฐานก่อนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 38 คน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า


1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์นิสัย HABITSCAN ร่วมกับการใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.71 / 94.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนเรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์นิสัย HABITSCAN ร่วมกับการใช้โครงงานเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles
##submission.authorBiography##

##submission.authorWithAffiliation##

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

参考

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการ. (2551). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กลุ่มบริหารวิชาการ, งานทะเบียนวัดผล. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์. ยโสธร

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. (2564). หลักสูตรโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ยโสธร.

เพ็ญศรี ชูสงค์. (2551). ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์

และความพึงพอใจจากการใช้วิธีสอนแบบหมวกความคิดหกใบ. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุวดี ไชยไธสง. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอาชีพที่มีต่อสมรรถนะด้านการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.ปทุมธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไล อลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3) : 185-199.