การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง กล้วยหอมทองที่ท่ายาง ของโรงเรียนเขื่อนเพชร (ชลประทานสงเคราะห์) จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

กาญจนาภา เมืองโพธิ์
กาญจนา บุญส่ง
ไพรัช มณีโชติ

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง กล้วยหอมทองที่ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง กล้วยหอมทองที่ท่ายาง ของโรงเรียนเขื่อนเพชร (ชลประทานสงเคราะห์) และ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง กล้วยหอมทองที่ท่ายาง โรงเรียนเขื่อนเพชร (ชลประทานสงเคราะห์) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 2 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 13 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ และแบบประเมินคุณลักษณะอัน


พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า


  1. องค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง กล้วยหอมทองที่ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 1) บริบทของอำเภอท่ายาง 2) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยหอมทองที่ท่ายาง 3) วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง 4) การแปรรูปกล้วยหอมทองที่ท่ายาง และ 5) การตลาด

  2. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง กล้วยหอมทองที่ท่ายาง ของโรงเรียนเขื่อนเพชร (ชลประทานสงเคราะห์) จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย องค์ประกอบของหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ  48.65 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติในระดับดี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดี ผลการประเมินหลักสูตรจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า หลักสูตรท้องถิ่นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

กาญจนา บุญส่ง, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ไพรัช มณีโชติ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_______________. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัญญา ระสิตานนท์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพารา โดยการติด

ตา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโหนด จังหวัด

สงขลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ชูชัย มีนุช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ตาลโตนดที่บ้านไร่กร่าง ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). การวิจัยปฏิบัติการ(Action Research). อุบลราชธานี : บริษัท ยงสวัสดิ์

อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด.

นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. (2551). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ :

บริษัท วีพริ้นท์ (1991) จำกัด.

บงกชพร กรุดนาค. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สารสกัดสมุนไพรและปุ๋ยหมัก ธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยการวิจัย

เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี.

ปฏิญญา สังขนันท์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่บ้านลาดเป้ง

ของโรงเรียนวัดลาดเป้ง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พรินท์ (1991) จำกัด.

สหกรณ์การเกษตรท่ายาง. (2564). แผนกล้วยหอมทองสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด 2021. เพชรบุรี. สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด.