ปัญหาการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎที่เป็นการกำหนดความผิดหรือโทษทางอาญา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วัชรากร ชาวตะโปน

摘要

บทความนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎที่เป็นการกำหนดความผิดหรือโทษทางอาญา โดยการศึกษาพบว่า ในทางปฏิบัติฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถที่จะตรากฎหมายให้ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง คงทำได้เพียงการกำหนดหลักการของกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการทั่วไป ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยมอบให้ฝ่ายบริหารในฐานะผู้บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และบางเรื่องเป็นเรื่องในทางเทคนิคโดยเฉพาะซึ่งฝ่ายบริหารมีความเชี่ยวชาญมากกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันการมอบอำนาจดังกล่าวได้ขยายขอบเขตออกไปเป็นอย่างมาก โดยให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจออกกฎเข้าไปก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยสามารถกำหนดองค์ประกอบความผิดหรือโทษทางอาญาได้ จึงมีประเด็นที่น่าพิจารณาว่า การมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎที่เป็นกำหนดการความผิดหรือโทษทางอาญานั้น ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ บทความฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาปัญหาการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎที่เป็นการกำหนดความผิดหรือโทษทางอาญาเป็นสำคัญ โดยนำแนวความคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นฐานในการศึกษา รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎที่เป็นการกำหนดความผิดหรือโทษทางอาญาในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางแก้ไขในปัญหาดังกล่าวที่เหมาะสมในทางวิชาการและทางปฏิบัติต่อไป

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2562), หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน,

คณิต ณ นคร. (2562), กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

คณพล จันทร์หอม. (2563), หลักพื้นฐานกฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

ทัศมัญช์ ใจหาญ. (2559), ความผิดฐานใช้สัตว์ประกอบกามกิจ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2548), คำแปลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ. 1958. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

ปกป้อง ศรีสนิท. (2563), กฎหมายอาญาชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2564), คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2564), รูปแบบการกำหนดความผิดอาญา : ศึกษากรณีของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุเจตน์ สถาพรนานนท์. (2545), การควบคุมการออกกฎขององค์กรฝ่ายปกครองในประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2551), กฎหมายพื้นฐานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. กรุงเทพฯ:บริษัท พี. เพรส จำกัด,

หทัยรัตน์ เนาว์พิริยวัฒน์. (2552), การมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารตรากฎหมายลำดับรอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์.

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2556), ทฤษฎีกฎหมายอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.