การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการสอนตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สมลักษณ์ วิจบ
อดิศร เนาวนนท์

摘要

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศ 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการสอนตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการสอน และแบบทดสอบประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศ อยู่ในระดับมากในส่วนของปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการในการนิเทศอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนารูปแบบ พบว่า รูปแบบและคูมือการนิเทศ มีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) ระยะเวลา (5) กระบวนการนิเทศ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ การสร้างความร่วมมือ การกำหนดเป้าหมาย การเยี่ยมชม การเชื่อมต่อระหว่างกันและการอภิปรายสรุป และ (6) การวัดและประเมินผล 3) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การประเมินรูปแบบการนิเทศ พบว่า ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.04, S.D. = 0.14)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

Atithaya, W. (2020). Development of a model of supervision of learning

management that promotes skills problem solving. Mahasarakham: MahaSarakham Rajabhat University). (in Thai)

Boonchom, S. (2019). Preliminary research. Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)

Office of Education Region 13. (2017). Information on education in Region 13.

Nakhon Ratchasima: Office of Education Region 13. (in Thai)

Division of Promotion and Development of Local Education Management. (2019).

Manual guidelines for teaching activities of local sufficiency schools LOCAL

SUFFICIENCY SCHOOL: LSS. Bangkok: n.p. (in Thai)

Herzberg, F (2005). Federick mausner bernard and synderman block the

motivation to work. New York: John Willey.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 12(11), pp. 84-93.

Ministry of Education. (2019). Act National Education (No. 4). B. E. 2019. Bangkok:

Transport Organization products and packages. (in Thai)

Pasana, C. (2018). Teaching supervision model to promote the ability to develop

thinking skills of learners Basic education level. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Phakdi, W. (2018). Teacher development model to promote student-centered

teaching and learning management in the office of Secondary education service areas 21. Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University. (in Thai)

Rung, K. (2017). Education reform. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)

Secretary of the Education Council. (2019). Office of the National Education Plan

B. E. 2017-2036. Bangkok: Sweet pepper Graphic. (in Thai)

Tasna, K. (2018). Deciphering the philosophy of sufficiency economy into teaching

thought processes. Bangkok: V Print (1991). (in Thai)

Yupin, Y. (2020). Peer-to-peer supervision for the development of math teachers'

competence in learning management with KWDL technique. Nakhon

Pathom: Silpakorn University. (in Thai)