แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีวิสาหกิจชุมชนสตรีแปรรูปปลา บ้านดงตาดทอง ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ปิยฉัตร ทองแพง

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการทำระบบบัญชีวิสาหกิจชุมชนสตรีแปรรูปปลาบ้านดงตาดทอง 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน และ 3) เสนอแนวทางการจัดทำระบบบัญชีวิสาหกิจชุมชนสตรีแปรรูปปลาบ้านดงตาดทอง วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนสตรีแปรรูปปลาบ้านดงตาดทอง ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างวิธีการเลือกแบบเจาะจง และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพในปัจจุบันการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีแปรรูปปลาบ้านดงตาดทอง เป็นการจดบันทึกความจำ และจัดทำบัญชีอย่างง่าย โดยมีตัวแทนสมาชิกที่ได้รับความไว้วางใจกันภายในกลุ่มจะเป็นผู้ดูแลเงินสดรับและเงินสดจ่าย 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีสตรีแปรรูปปลาบ้านดงตาดทอง ไม่มีการจดบันทึกสินค้าคงคลัง เอกสารสูญหาย สมาชิกกลุ่มขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชี และ 3) แนวทางในการจัดทำบัญชีบัญชี ประกอบด้วย 2) แนวทาง ได้แก่ 1) การให้องค์ความรู้ด้านการวางระบบบัญชี ตลอดจนการจัดเก็บเอกสารข้อมูลทางการเงิน 2) การกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบทางด้านการบัญชีการเงิน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำบัญชีอย่างต่อเนื่องเพื่อทางกลุ่มจะได้รับประโยชน์จากการจัดทำข้อมูลทางการบัญชีที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังนำข้อมูลไปวางแผนในการบริหารงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพต่อไป

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กุสุมา ดําพิทักษ์ มาลี และคณะ. (2552). การพัฒนาระบบบัญชีสําหรับกลุ่มผลิต สินค้า

OTOP, กรณีศึกษากลุ่มอาหาร จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จันทนา พงศ์สิทธิภาญจนา. (2558). แนวทางการจัดการที่มีคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการบรรลุ

ยุทธศาสตร์ ด้านการอยู่ดีมีสุขในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(2), หน้า 2039 – 2053.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพ

สูงสุด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(3), หน้า 125 – 139.

ชมภูนุช หุ่นนาค และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน

เกษตรกรมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 9(1), หน้า 85 – 97.

ทิชากร เกษตรบัว และคณะ. (2556). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สูง

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย.

วารสารการจัดการสมัยใหม่. 11(2), หน้า 59–71.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 13. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล

https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf.

(10 กรกฎาคม 2566).

วุฒิชัย สายบุญจวง. (2561). ชุมชนเข้มแข็งในทัศนะของชาวชุมชน กรณีศึกษาบ้านปลายคลองบาง

โพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลย

อลงกรณ์ปริทัศน์. 8(1), หน้า 119 – 129.

วิไล วีระปรียาและคณะ. (2548). ระบบบัญชี. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.