การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่องทวีปอเมริกาใต้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดโคกเปี้ยว สังกัดสำนักเขตการศึกษา พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 21 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทวีปอเมริกาใต้ 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที ( t - test dependent ) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการ เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ. (2560). “ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอน
คณิตศาสตร์.” นิตยสาร สสวท 46, 209 (พฤศจิกายน-ธันวาคม) : 20-22.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.
พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนา
การศึกษา.
วันเฉลิม อุดมทวี. (2556). “การพัฒนาความสามารถการคิดเชิงบูรณาการ และผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 และ 2 ภูมิศาสตร์
ทวีป อเมริกาเหนือและใต้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-
Based Learning) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง.” วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์
ครั้งที่ 10. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์. (2559). “การพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภูมิศาสตร์เพื่อรองรับ
โอลิมปิกวิชาการ.” วารสารภูมิศาสตร์ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม) : 32.