สหบทในนวนิยายเรื่อง “ธำมรงค์เลือด” ของพงศกร

Main Article Content

กรีกมล หนูเกื้อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะการใช้สหบทที่มีการนำชาดกและวรรณคดีไทย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ สาลิเกทารชาดก สันติคุมพชาดก คัมภีร์โลกบัญญัติ และเสภาขุนช้างขุนแผน มาใช้ในนวนิยายเรื่องธำมรงค์เลือดของพงศกร  พร้อมทั้งวิเคราะห์นัยยะที่แฝงอยู่ในนวนิยาย ผลการศึกษาพบว่าพงศกรนำเรื่องสาลิเกทารชาดกและสันติคุมพชาดกมาสื่อถึงฉากสำคัญและแนวคิดสำคัญในนวนิยาย ทั้งยังมีการนำความเชื่อเกี่ยวกับเวมานิกเปรตที่ปรากฏในคัมภีร์โลกบัญญัติของศาสนาพุทธมาสร้างลักษณะสำคัญของตัวละคร ตลอดจนนำตัวละครและอาวุธศักดิ์สิทธิ์จากวรรณคดีเสภาขุนช้างขุนแผนมาประกอบสร้างเป็นเรื่องราวสำคัญ จะเห็นได้ว่าสหบทของการนำวรรณคดีไทยมาใช้ในนวนิยายเรื่องนี้นั้นส่งผลต่อการสร้างสรรค์แนวคิดและการนำเสนอแนวคิดสำคัญของเรื่องได้อย่างชัดเจน

Article Details

How to Cite
หนูเกื้อ ก. (2024). สหบทในนวนิยายเรื่อง “ธำมรงค์เลือด” ของพงศกร. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 46(2), 29–49. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mpjh/article/view/262936
บท
บทความวิชาการ

References

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2554). สหบท: มุมมองใหม่ในการวิเคราะห์ภาษาและวาทกรรม. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 29(2), 1 - 26.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2558). โลกทัศน์และพลังทางสุนทรียะในวรรณกรรมไทย พ.ศ. 2520-2547. ใน ณภัค เสรีรักษ์ และ รชฎ สาตราวุธ (บก.), จินตทรรศน์จากปัตตานี: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง (น. 88-116). ปัตตานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2553). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเปรียบเทียบ วรรณคดีเปรียบเทียบ : กระบวนทัศน์และวิธีการ. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แซท โฟร์ พริ้นติ้ง

นพพร ประชากุล. (2543). สัมพันธบท. สารคดี, 16(182), 175-177.

พงศกร. (2565). ธำมรงค์เลือด. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พีเอ็นเอส ครีเอชั่น.

พระสัทธรรมโฆษะเถระ. (2528). โลกบัญญัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท. (2468). คำให้การชาวกรุงเก่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (พ.ศ. 2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก. (2558). คติชนในนวนิยายของพงศกร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัค มหาวรากร. (2556). เอกสารประกอบการสอนวรรณคดีชาดก. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา คุ้ยเอี่ยม. (2561). การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในนวนิยายของพงศกร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป. อ. ปยุตฺโต. (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32.

กรุงเทพฯ: สหธรรมิกจำกัด.