สหบทในนวนิยายเรื่อง “ธำมรงค์เลือด” ของพงศกร
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะการใช้สหบทที่มีการนำชาดกและวรรณคดีไทย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ สาลิเกทารชาดก สันติคุมพชาดก คัมภีร์โลกบัญญัติ และเสภาขุนช้างขุนแผน มาใช้ในนวนิยายเรื่องธำมรงค์เลือดของพงศกร พร้อมทั้งวิเคราะห์นัยยะที่แฝงอยู่ในนวนิยาย ผลการศึกษาพบว่าพงศกรนำเรื่องสาลิเกทารชาดกและสันติคุมพชาดกมาสื่อถึงฉากสำคัญและแนวคิดสำคัญในนวนิยาย ทั้งยังมีการนำความเชื่อเกี่ยวกับเวมานิกเปรตที่ปรากฏในคัมภีร์โลกบัญญัติของศาสนาพุทธมาสร้างลักษณะสำคัญของตัวละคร ตลอดจนนำตัวละครและอาวุธศักดิ์สิทธิ์จากวรรณคดีเสภาขุนช้างขุนแผนมาประกอบสร้างเป็นเรื่องราวสำคัญ จะเห็นได้ว่าสหบทของการนำวรรณคดีไทยมาใช้ในนวนิยายเรื่องนี้นั้นส่งผลต่อการสร้างสรรค์แนวคิดและการนำเสนอแนวคิดสำคัญของเรื่องได้อย่างชัดเจน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
Any unauthorized copying, publication, reproduction or distribution of copyrighted works appeared in Manutsat Paritat: Journal of Humanities is an infringement of the copyright owners’ rights. To authorize the copying, publication, reproduction or distribution of copyrighted works to be appeared in other printed materials or any online media, please write to MPJHthaijo@gmail.com for permission.
参考
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2554). สหบท: มุมมองใหม่ในการวิเคราะห์ภาษาและวาทกรรม. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 29(2), 1 - 26.
ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2558). โลกทัศน์และพลังทางสุนทรียะในวรรณกรรมไทย พ.ศ. 2520-2547. ใน ณภัค เสรีรักษ์ และ รชฎ สาตราวุธ (บก.), จินตทรรศน์จากปัตตานี: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง (น. 88-116). ปัตตานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2553). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเปรียบเทียบ วรรณคดีเปรียบเทียบ : กระบวนทัศน์และวิธีการ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แซท โฟร์ พริ้นติ้ง
นพพร ประชากุล. (2543). สัมพันธบท. สารคดี, 16(182), 175-177.
พงศกร. (2565). ธำมรงค์เลือด. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พีเอ็นเอส ครีเอชั่น.
พระสัทธรรมโฆษะเถระ. (2528). โลกบัญญัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท. (2468). คำให้การชาวกรุงเก่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (พ.ศ. 2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก. (2558). คติชนในนวนิยายของพงศกร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัค มหาวรากร. (2556). เอกสารประกอบการสอนวรรณคดีชาดก. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา คุ้ยเอี่ยม. (2561). การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในนวนิยายของพงศกร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป. อ. ปยุตฺโต. (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32.
กรุงเทพฯ: สหธรรมิกจำกัด.