- กลวิธีการนำเสนอสังคมดิสโทเปียในนวนิยายไทยร่วมสมัยทศวรรษที่ 2560
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอสังคมดิสโทเปียในนวนิยายไทยร่วมสมัยทศวรรษที่ 2560 จำนวน 7 เรื่อง เป็นการวิจัยจากเอกสาร ใช้แนวคิดดิสโทเปียประกอบการอธิบาย นำเสนอในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีสำคัญที่ผู้แต่งนำเสนอให้เห็นสังคมดิสโทเปียในนวนิยายอย่างเด่นชัดมี 5 ประการคือ 1. การนำเสนอผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรม ได้แก่ การนำเสนอผ่านโครงเรื่องที่เน้นให้ตัวละครเดินทางไปรับรู้เรื่องของความรุนแรงของสถานที่นั้น ๆ การนำเสนอฉากต่างสถานที่สลับกันไป มีทั้งฉากในโลกสมมติ และฉากในโลกแห่งความเป็นจริง 2. การสร้างตัวละครให้เป็นภาพตัวแทนกลุ่มคน และสถาบันรัฐ 3. การอิงกับวาทกรรมทางสังคม ได้แก่ วาทกรรมการพัฒนา วาทกรรมความมั่นคง วาทกรรมเด็กดี และวาทกรรมรัฐประหาร 4. การใช้สัญญะต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับคนและสถานที่ และ 5.การซ้อนเรื่องเล่าในทุก ๆ เรื่องเล่าหลัก กลวิธีต่าง ๆ เหล่านี้เสริมให้เห็นสังคมดิสโทเปียที่เด่นชัดขึ้น
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
Any unauthorized copying, publication, reproduction or distribution of copyrighted works appeared in Manutsat Paritat: Journal of Humanities is an infringement of the copyright owners’ rights. To authorize the copying, publication, reproduction or distribution of copyrighted works to be appeared in other printed materials or any online media, please write to MPJHthaijo@gmail.com for permission.
参考
คมลักษณ์ ไชยยะ. (2562). พื้นฐานแนวคิดสัญวิทยาของโรล็องด์ บาร์ตส์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 27–6.
ฆนาธร ขาวสนิท. (2564). แปดปีหลังจากนั้น. กรุงเทพฯ : แซลมอน.
จักรพันธุ์ กังวาฬ. (2564). อัลไตวิลล่า. กรุงเทพฯ : สมมติ.
จันจิรา สมบัติพูนศิริ. (2562). กระบวนการประกอบสร้าง ‘ความมั่นคง’ (securitization): แนวคิดและตัวอย่าง. https://www.the101.world/securitization/
จิณห์วรา ช่วยโชติ. (2558). วาทกรรมการพัฒนา: กรณีศึกษากระบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน “กลุ่มรักษ์เชียงของ” [รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล ศิลปศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนาลัย คงสมทบ & นนทชา คัยนันทน์. (2565). กลวิธีการใช้ภาษาในนวนิยายแนวดิสโทเปีย เรื่อง สุสานสยาม ของ ปราปต์. วารสารวิวิธวรรณสาร, 6(2), 45–67.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนาในสังคมไทย. วารสารร่มพฤกษ์, 24(1-29ตุลาคม 2548-พฤษภาคม 2549), 1–27.
ดาราพร ศรีม่วง. (2556). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของนักเขียน: กรณีศึกษาเรื่องเล่าจากประสบการณ์ชีวิตของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล [วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ถิรัต คงสุวรรณ. (2561). ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้สหภาพโซเวียตไม่สามารถพัฒนาไปเป็นสังคมยูโทเปียภายใต้แนวคิดของเซอร์ โทมัส มอร์ [ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพพร ประชากุล. (2552). ว่าด้วยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ใน ยอกอักษรย้อนความคิด เล่ม 2, หน้า 320-322. กรุงเทพฯ: อ่าน.
นิธิ นิธิวีรกุล. (2561). ประพฤติการณ์. กรุงเทพฯ : สมมติ.
นิพนธ์ ฐานะพันธุ์. (2561). การปฏิรูปรัฐธรรมนูญของไทยให้เป็นประชาธิปไตยหรือเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการ 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(3), 200–212.
บริษฎ์ พงศ์วัชร์. (2564). WE SHOULD ALL GO TO HELL เราทุกคนควรลงนรก. P.S. : กรุงเทพฯ.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2560). รัฐประหารในศตวรรษที่ 21: สัญญาไม่เป็นสัญญาและความด้อยพัฒนาทางการเมือง. https://www.the101.world/coup-in-21st-century/
ปราปต์. (2563). สุสานสยาม. กรุงเทพฯ : แพรว.
พัทธนันท์ พาป้อ, ปพิชญา พรหมกันธา, ปุ่น ชมภูพระ, สิริกร เศษวิกา, ธนกนก สิงห์ดา. (2562). การศึกษาภาพสะท้อนและแนวคิดในวรรณกรรมรวมเรื่องสั้น “สิงโตนอกคอก.” วารสารมจร นครน่านปริทัศน์, 3(1), 89–105.
พิชามญชุ์ ศรีรักษาสินธุ์ & ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์. (2563). มาตรา 44 เครื่องมือในการครองอำนาจนำของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 11(1), 171–188.
เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย. (2562). ความเสมอภาคทางเพศในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์: เพศวิถี. วารสารนวัตกรรมการศึกษา และการวิจัย, 3(3 กันยายน), 179–188.
ภัทรภร รักเรียน. (2559). โค-ดิสโทเปียและอีโค-ยูโทเปียในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ของคิม สแตนลีย์ โรบินสัน [วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุมาศ อิสริยศไกร. (2556). เกมคือโลก โลกคือเกม: การช่วงชิงอำนาจในวรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยแนวดิสโทเปีย [วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาริษา หมัดหนิ. (2565). วาทกรรม“เดก็ ดี”: การศึกษาเปรียบเทียบแบบเรียนชั้นประถมศึกษาไทยกับมาเลเซีย [วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัลลี นวลหอม, พชรพล แซ่อึ้ง, ศรัณญ์พจน์ สวยอารมณ์, สมเจตน์ อนุสาร, & เอกร์ จันทราสา. (2563). จากเหตุการณ์รัฐประหาร 2557 อันนำไปสู่เผด็จการอำนาจนิยมที่ส่งผลกระทบทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทย. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2662–2674. วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
วิทยา หอทรัพย์. (2562). ภาพสะท้อนหายนะของเมือง [วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิภาส ศรีทอง. (2561). อนุสาวรีย์. กรุงเทพฯ : สมมติ.
ศิวกร แรกรุ่น. (2566). ดิสโทปียในนวนิยายไทยร่วมสมัยทศวรรษที่ 2560 [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สรพงษ์ เกิดแก้ว. (2562). บทปริทัศน์หนังสือUtopia ยูโทเปีย: มหานครในฝัน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทัศน์, 6(2), 363–367.
สุทธิชัย บุณยะกาญจน. (2533). การศึกษาเชิงวิเคราะห์นิยายวิทยาศาสตร์อเมริกันแนวดิสโทเปีย ในช่วง ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 1972 [วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (Director). (2558). Literature: วรรณกรรมดิสโทเปีย. https://www.youtube.com/watch?v=TQOiUAS9XPQ&t=4545s
อนุสรณ์ ติปยานนท์. (2564). เมืองในหมอก. กรุงเทพฯ : ระหว่างบรรทัด.