การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ตามแนวทาง LKS SMART School Model โดยใช้การจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ, LKS SMART School Modelบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการ ตามแนวทาง LKS SMART School Model โดยใช้การจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและคณะครู ต่อการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการ ตามแนวทาง LKS SMART School Model โดยใช้การจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและคณะครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เอกสารแนวทางการพัฒนาโรงเรียน LKS SMART School Model และเอกสารผลการปฏิบัติการ/โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2560-2561 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. รูปแบบบริหารงานวิชาการ ตามแนวทาง LKS SMART School Model โดยใช้การจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณีได้รับการพัฒนา โดยผลการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการ พบว่า การพัฒนานักเรียนด้วยกิจกรรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับความสามารถหรือความสนใจของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงสุด คือ 4.73 การแปลผลอยู่ในระดับดีมาก
2. นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและคณะครู มีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการ ตามแนวทาง LKS Smart School Model โดยใช้การจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.78 การแปลผลอยู่ในระดับดีมาก
References
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นิตยา พูลแสง. (2554). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
บรรเจิด สระปัญญาและคณะ. (2560). เอกสารประกอบการประชุม สมาคมคณิตศาสตรศึกษา. การประชุมด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7) . กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วัลลภา อารีรัตน์. (2528). สอนให้ค้นพบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไร. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(1) น.57 – 79.
สิริพร ทิพย์คง. (2533). ทฤษฎีและการสอนวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.