ปมเขื่องที่ทำให้บุคคลประกอบอาชญากรรม: การศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีอาชญาวิทยา เชิงจิตวิทยากับแนวคิดจิตวิเคราะห์แบบพุทธเรื่องปมเขื่อง

ผู้แต่ง

  • นิโรธรี จุลเหลา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปมเด่น, ทฤษฎีจิตวิเคราะห์, ทฤษฎีบุคลิกภาพ, ปมเขื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎีอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยากับแนวคิดจิตวิเคราะห์แบบพุทธเรื่องปมเขื่อง อันเป็นสาเหตุของการประกอบอาชญากรรม และศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม อันเกิดจากการที่บุคคลมีปมเขื่อง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทฤษฎีอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยากับแนวคิดจิตวิเคราะห์แบบพุทธเรื่องปมเขื่อง จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านประเภทองค์ความรู้ อาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยาของซิกมันต์ ฟรอยด์ และอัลเฟรด แอดเลอร์ จัดเป็น “ทฤษฎี” ส่วนจิตวิเคราะห์แบบพุทธเรื่องปมเขื่อง ซึ่งเรียบเรียงโดยท่านพุทธทาสภิกขุ พระพะยอม กัลยาโณ และ พระไพศาล    วิสาโล จัดเป็น “แนวคิด” 2) ด้านสาเหตุอาชญากรรม ทั้งทฤษฎีอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยากับแนวคิดจิตวิเคราะห์แบบพุทธเรื่องปมเขื่อง อธิบายสาเหตุอาชญากรรมไว้เหมือนกัน คือ การก่ออาชญากรรมเกิดจากปมเขื่องที่เหนือกว่าผู้อื่น เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลประกอบอาชญากรรม 3) ด้านแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ทั้งแนวคิด ทฤษฎีอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยากับแนวคิดจิตวิเคราะห์แบบพุทธเรื่องปมเขื่อง เสนอแนวทางไว้ตรงกัน คือ การปลูกฝังให้บุคคลไม่ใช้ปมเขื่องทำร้ายหรือเอาเปรียบผู้อื่น การบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษผู้กระทำผิดควรเป็นไปด้วยความเสมอภาค

References

พุทธทาสภิกขุ. (2543). บททดลองเสนอว่าด้วยจิตวิเคราะห์แบบพุทธ. กรุงเทพฯ: พลพัฒน์การพิมพ์.

สุดสงวน สุธีสร. (2547). อาชญาวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bernardo J. Carducci. (2009). The Psychology of Personality: Viewpoints, Research, and Applications. (2nd ed). John Wiley & Sons.

Koustuv Dalal and Kent Lindqvist . (2014). India’s secret shame - wife battering and the Male superiority complex rajpersaud consultant psychiatrist. Retrieved September 25, 2012, from http://www.rajpersaud.wordpress.com/2012/09/25/indias-secret-shame-wife-battering-and-the-male-superiority-complex-by-raj-persaud/

Mike McConville. (2011). Emeritus Professor and Honorary Fellow, Centre for Rights and Justice. The Chinese University of Hong Kong, Criminal Justice in China.An Empirical Inquiry. Cheltenham, UK, Northampton, MA, USA. Edward Elgar Publishing Limited UK.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24