การจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรรณพ สุทธิจิระพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางด้านกายภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตำบลกื้ดช้าง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชน 3) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 20 คน กลุ่มที่ 2 จากการตอบแบบสอบถามของนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 100 คน และประชาชนในพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการวิจับพบว่า ตำบลกื้ดช้าง เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการจัดกิจกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีสภาพทรัพยากรสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเต็งรังที่มีไม้ดิบเขาผสมอยู่ มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำแตง เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด จำนวนขยะที่เพิ่มมากขึ้น การใช้น้ำ ระบบนิเวศทางธรรมชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ทำให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนไม่เกิดความยั่งยืน แนวทางที่เหมาะสม โดยจัดไว้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) สนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ 2) เปิดโอกาสให้ประชาชนและเจ้าที่ภาครัฐเสนอ นโยบาย 3) ในด้านผลประโยชน์ของชุมชนควรมีการเปิดให้ผู้ประกอบการเอกชนและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการการท่องเที่ยว

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2540). รายงานผลการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

มนัส สุวรรณ. (2541). แผนปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์ (เชียงใหม่). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิมล มงคลสิริรักษ์. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาชุมชนบ้านปงถ้ำ ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. (บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-31