การจัดการผลกระทบทางสังคม-วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทอผ้าพื้นบ้าน บ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง

ผู้แต่ง

  • ทองจันทร์ ลัดวิไล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการผลกระทบ, การทอผ้าพื้นบ้าน, สังคม-วัฒนธรรม, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการผลกระทบทางสังคม-วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทอผ้าพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้นำหมู่บ้าน 3 คนและสมาชิกทอผ้ากลุ่มไทลื้อจำนวน 76 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ 3 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าการทอผ้าของชาวไทลื้อ บ้านนายางใต้ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยผ่านการเรียนรู้และกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตเพื่อตอบสนองต่อตลาดสมัยใหม่ที่มุ่งกำไรมากขึ้น เปลี่ยนจากระบบเครือญาติสู่ปัจเจกชน ภูมิปัญญาถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี กระบวนการผลิตส่งผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย การย้อมสีฝ้ายเกิดสารเคมีตกค้างในดิน ในน้ำ เกิดมลภาวะทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย และสารพิษส่งกลิ่นเหม็นส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ทอผ้าคนในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

References

มนัส สุวรรณ.(2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม: หลักการและแนวคิด.กรุงเทพฯ: โอเดียร์สโตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน (2524). พจนานุกรรม. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

Marx, Karl and Engels, F. (1971). On the Paris Commune. Moscow: Progress Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-31