คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กัลยารัตน์ วงศ์แก้ว มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่
  • ศิริพงษ์ มาณะศรี มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน และเพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่เป็นบุคลากรและปฏิบัติงานจริงของคณะ ในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย ()=3.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีค่าเฉลี่ย ()=3.83 รองลงมาคือ ด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง มีค่าเฉลี่ย ()=3.77 ด้านจังหวะชีวิต มีค่าเฉลี่ย ()=3.56 ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมีค่าเฉลี่ย ()=3.50 ด้านสิทธิส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ย () =3.48 ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม มีค่าเฉลี่ย ()=3.39 ตามลำดับ

            แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ควรมีการสร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติระหว่างบุคลากรที่เป็นข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัยให้เข้าใจถึงบทบาทในการทำงานร่วมกัน เพื่อลดความขัดแย้งต่อการทำงาน รวมถึงกำหนดเกณฑ์การขึ้นค่าตอบแทนให้มีความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ อีกทั้งควรมีการสำรวจความต้องการของบุคลากรต่อการส่งเสริมด้านสุขภาพ และจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการทำงาน และเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนต่อไป

References

ณัฐชัย นิ่มนวล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

พิเศษภาวิช ทองโรจน์. [ม.ป.ป.]. สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.dusit.ac.th. -course- standard-No-3.pdf.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ. (2555). รายงานประจำปี 2555. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศูนย์ข่าวเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนและการบริหารธุรกิจ. [ม.ป.ป.]. ทรัพยากรมนุษย์ คือ ? และอะไรคือความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์. สืบค้น 7 มิถุนายน 2556, จากhttp://www.aececonomy.com

สุขชัย วงษ์จันทร์. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรฝ่ายฆราวาส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย).

สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวรรณรัตน์ วัลลีย์. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

หทัยพันล์ พูลสวัสดิ์. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานครูโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Walton (1973) อ้างถึงใน นิวุฒิ ยศวงศ์รัศมี. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-31