การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญจากเพลงประกอบละครพื้นบ้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์, การอ่านจับใจความสำคัญ, เพลงประกอบละครพื้นบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยเพลงประกอบละครพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2561จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Arithmetic), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ จากเพลงประกอบละครพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้านผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนแตกต่างกันโดยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05
References
จุฑามาศ ชัยสงคราม. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
พัชรินทร์ แจ่มจำรูญ. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบปฎิสัมพันธ์ด้วยวิธี KWL-Plus กับวิธีสอนอ่านแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
โรงเรียนชุมชนบ้านโสก. (2556). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนชุมชนบ้านโสกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ชัยภูมิ: โรงเรียนชุมชนบ้านโสก.
สำนักข่าวแห่งชาติกรมประชาสัมพันธ์. (2551) สืบค้นข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2562 จากhttp://thainews.prd.go.th
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2552). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.