การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเจดีย์ปล่อง ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระมหาเดชรชต สิริญาณเมธี (เดชพงค์)

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเจดีย์ปล่อง ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่และ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเจดีย์ปล่อง ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประธานชุมชน ผู้นำศาสนา (พระสงฆ์) ประธานผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นไปในลักษณะของการเขียนเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเจดีย์ปล่องพบว่า 1) ด้านร่างกายของผู้สูงอายุเป็นไปตามความเสื่อมของร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยและทำงานมากเกินไปและรับประทานอาหารตามใจตนเอง ควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพร่างกายอยู่เสมอและตรวจโรคประจำปีและฟังคำแนะนำของแพทย์ที่ให้ความรู้เสมอ 2) ด้านอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุบางคนกลัวการถูกทอดทิ้งและการอยู่คนเดียว บางคนเป็นโรคซึมเศร้าทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เวลาเหงาก็หาทางออกโดยฟังธรรมะและส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตดี ร่าเริงและแจ่มใส 3) ด้านสังคมและครอบครัวของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม บางคนต้องทำงานดูแลครอบครัวและชอบอยู่คนเดียวโดยไม่พึ่งลูกหลานและ 4) ด้านเศรษฐกิจและรายได้ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้จากเงินบำนาญ การประกอบอาชีพ (เจ้าของกิจการหอพัก-ห้องเช่า) มีเบี้ยยังชีพและลูกหลานก็ยังส่งเงินมาให้ใช้จ่ายและเก็บออมไว้ใช้ในการทำบุญ เป็นต้นและ 2. หลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเจดีย์ปล่อง พบว่า 1) ด้านร่างกาย : ไตรลักษณ์ ร่างกายของตัวเองเมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วต้องดับไปเป็นธรรมดา จึงต้องดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องดีงาม ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนและเห็นคุณค่าชีวิตที่ต้องอยู่ด้วยความไม่ประมาท 2) ด้านอารมณ์และจิตใจ : บุญกิริยาวัตถุ 3 โดยการทำบุญจะช่วยส่งเสริมให้มีจิตใจดี รู้จักการให้ การเสียสละ ขจัดความโลภและนำความสุขมาให้ตนเอง 3) ด้านสังคมและครอบครัว : สังคหวัตถุ 4 โดยการปฏิบัติตนให้ยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจสนทนา เจรจาไพเราะและสงเคราะห์เกื้อกูล และ 4) ด้านเศรษฐกิจและรายได้ : ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ รู้จักหา รู้จักใช้ทรัพย์ ตั้งตัวสร้างหลักฐานได้ดีและใช้ทรัพย์สมบัติให้เป็นประโยชน์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางเศรษฐกิจอย่างถูกต้อง

References

จิราภรณ์ เกศพิชญ์วัฒนะและคณะ. (2543). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 1(3), 25-28.
ธนเนตร ฉันทลักษณ์. (2546). ความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ต่อบทบาทการให้บริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พรเทพ สาระหงส์. (2540). พุทธจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ:ศึกษากรณี สถานสงเคราะห์คนชราวาสนะเวศม์ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2539). ปัญหาผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สมชายการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-11