ผลสัมฤทธิ์จากการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญา รายวิชา 500206 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานบริการ

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา รุ่งสาตรา

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญา, การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญา (Thinking Classroom) รายวิชา 500206 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานบริการ 2) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์จากการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญา (Thinking Classroom) รายวิชา 500206 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานบริการ 3) เพื่อทราบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญา (Thinking Classroom) ในรายวิชา 500206 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานบริการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกลวิธีการสอนการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญาทุกคนและเห็นได้ว่ามีพัฒนาการด้านทักษะการถาม การคิดที่ดีขึ้นโดยเป็นลำดับทุก ๆ คน 2) นักศึกษา มีผลคะแนนการสอบครั้งที่ 2 ดีขึ้นทุกคนหลังจากเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าว 3) ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานบริการอยู่ในระดับดี ส่วนระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญา (Thinking Classroom) อยู่ในระดับมากที่สุด

References

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัย. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชา จิตวิทยาบริการ. หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 4).นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2535). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

หลุย จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาการจูงใจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามัคคีสาส์น จำกัด.

อมร รักษาสัตย์. (2535). การปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principle of Marketing (13th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Tasci, A.D.A. & Boylu, Y.(2010). Cultural comparison of tourists’ safety perception in relation to trip satisfaction. International Journal of Tourism Research, 12, 179-192.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-11