การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

ผู้แต่ง

  • อุทัย ขุมเหล็ก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณธรรม, จริยธรรม, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา 3) เสนอแนวทางในการการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 รูป/คน อาจารย์ จำนวน 5 รูป/คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 รูป/คน และนักศึกษา จำนวน 5 คน รวมจำนวน 18 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า :

1) สภาพการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานโครงการค่ายคุณธรรม เป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นกระบวนการ (PDCA) คือ การวางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) ตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินโครงการ ดำเนินงานโครงการตามแผนที่วางไว้ การสรุปผลตรวจสอบและประเมินผลโครงการ (Check) และการนำผลไปพัฒนา (Act)

2) ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา พบว่ามหาวิทยาลัยมีสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีการดำเนินงานโครงการตามแผนล่าช้า บุคลากรที่รับผิดชอบมีจำนวนน้อย นักศึกษายังมีพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะที่ขาดวินัย ความซื่อสัตย์สุจริตและจิตสาธารณะ

3) แนวทางการพัฒนาคือ กําหนดนโยบายในระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาเขตให้มีการจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา จัดอบรมสัมมนาและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในการพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักศึกษา ให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติด้วยตนเอง โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใจ

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). ประกาศกระทรวงฯ เรื่องการจัดระเบียบหอพัก ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช. กรุงเทพฯ: กระทรวง.

คชกรณ์ บัวคำ. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี) สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จาก https://so01.tcithaijo.org/ index.php/buajead-ubru/article/view/62862/51665

สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. (2550). การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

แสงนภา ภักดีศิริวงษ์. (2548). การมีส่วนร่วมของสถาบันศาสนาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

อ้อมเดือน สดมณี และคณะ. (2549). ปัจจัยด้านจิตสังคมและความสุขใจที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานของครูในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01