ศึกษาเชิงวิเคราะห์เภสัชในพุทธปรัชญา

ผู้แต่ง

  • พระวิพล ฐานวโร สายต้อม

คำสำคัญ:

เภสัช, คุณค่าของเภสัช, พุทธปรัชญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหมายและประโยชน์ของเภสัช 2) เพื่อศึกษาเภสัชที่ปรากฏในพุทธปรัชญา 3) เพื่อศึกษาคุณค่าของเภสัชในสังคมปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำราวิชาการ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเภสัชในพุทธปรัชญา ผลการวิจัยพบว่า 1) เภสัชหมายถึงยาสมุนไพรที่ได้มาจากพืช สัตว์ แร่ธาตุจากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นเภสัชรักษาโรคต่างๆและบำรุงร่างกายได้ 2) พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นำสมุนไพรและพืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทำเป็นเภสัชเพื่อรักษาสุขภาพ พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตเภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย 3) กระทรวงสาธารณสุขมีการร่างเป็นนโยบายไว้เป็นแผนพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อให้บุคลากรของสาธารณสุขในระดับต่างๆ มีความรู้เรื่องสมุนไพร ที่จะนำไปใช้ในการรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอินทสารวิจักษ์ อินฺทสโร (กิจไร่). (2551). ศึกษาการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรและธรรมโอสถที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. (ปริญญาพุทธปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

เสนาะ ขาวขำ. (2558). การใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาตเพื่องานสาธารณสุขมูลฐาน. (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30