การนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการปราบปราม
คำสำคัญ:
หลักอิทธิบาทธรรม, การปฏิบัติงาน, ข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปรามบทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาการนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม 2)เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน และ3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Z - test ค่า F -test และค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
การนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวิริยะ ความเพียรในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านจิตตะ การเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน และ ด้านวิมังสา การใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ผลการเปรียบเทียบการนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม ตามสถานภาพสมรส ประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพศ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักอิทธิบาทธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการปราบปราม พบว่าผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ยอมรับการตรวจสอบงานที่ทำของตนเองเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ และให้คำชมเชย ประกาศเป็นตัวอย่างแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร
References
กรมวิชาการ. กรอบความคิดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541.
คณะครูพละศึกษา. เอกสารประกอบการสอนจริยธรรมกับชีวิต. ยะลา : วิทยาลัยพละศึกษาจังหวัดยะลา, 2539.
จำรัส ดวงธิสาร. จริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2522.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. การพัฒนาจริยธรรม : ตำราจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2522.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
กรรณิการ์ ดีมานพ. “การปฏิบัติตามแนวอิทธิบาท 4 ของพนักงานท่าอากาศยานเชียงใหม่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542.
ณัฐนี เลิศเรืองเจริญ. “การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลมหาชัย 2 อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550.
บุญมี บุญเอี่ยม. “ศึกษาการนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการทำงานของพนักงานศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด”. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2548.
เบญจวรรณ นครพัฒน์. “การนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
สุกิจ มลสวัสดิ์. “การปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท 4 ในการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนพระบรมธาตุพิทักษ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
อรพรรณ ศิริพรประสิทธิ์. “สัมฤทธิ์ผลการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.